ส่วนการปรับราคาสินค้าในปีหน้านั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานความสมเหตุสมผล อัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน
"การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในขณะนี้เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และเศรษฐกิจอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งถือเป็นความท้าทายและโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองและแก้ไขปัญหาที่สะสมมานาน จำเป็นต้องทำให้เศรษฐกิจฟื้นคืนชีพ มีความแข็งแรงและยั่งยืน" รมว.พาณิชย์ กล่าวในการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “พลิกฟื้นเศรษฐกิจเพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนไทยทั้งประเทศ”
รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องดำเนินการ คือ รัฐบาลต้องเรียกความเชื่อมั่นจากทุกภาคส่วน ส่งเสริมนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ วางรากฐานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจังและต่อเนื่องใน 4 เสาหลัก ประกอบด้วย ด้านที่ 1. สร้างขีดความสามารถพัฒนาเศรษฐกิจไทย ซึ่งจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการผลิตยุคใหม่ รักษาสมดุลผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตและเพื่มมูลค่าสินค้าด้านการเกษตร ผ่านการเกษตรโซนนิ่ง ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยุคใหม่ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย ปรับปรุงระบบโลจิสติค และเดินหน้าแผนยุมธศาสตร์ด้านคมนามคม มูลค่า 3 ล้านล้าน โดยเริ่มจากโครงการรถไฟรางคู่ 3 เส้นทาง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 4 เส้นทางในปีหน้า และต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน การปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เกิดความเหมาะสมให้เกิดขึ้นในปีหน้า ลดการบิดเบือนด้านราคา ลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ รวมไปถึงการการพัฒนาโครงสร้างด้านดิจิตอล ให้ก้าวทันและแข่งขันกับนานาชาติได้ และต้องสร้างสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และพัฒนาเขตเศรษฐกิจตามแนวชายแดน
ด้านที่ 2 การปฏิรูปด้านการศึกษา พัฒนาระบบการศึกษา สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ส่งเสริมการศึกษาด้านอาชีวะศึกษา สร้างแรงงานที่มีทักษะ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต ปรับปรุงมาตรฐานวิชาชีพที่ขาดแคลนและตรงความต้องการของตลาดแรงงาน
ด้านที่ 3 ยุทธศาสตร์พัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยรัฐบาลให้ความสำคัญยกระดับ และมุ่งเน้นการลดขั้นตอน ปรับปรุงกฏระเบียบ และนำระบบอิเล็คทรอนิกส์มาใช้ในการทำธุรกิจ และด้านที่ 4 ขจัดการคอร์รัปชั่นและสร้างความโปร่งใส ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับการขจัดการคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังในทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง การจ่ายเงิน เป็นต้น
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า รัฐบาลไม่สามารถทำได้สำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการและสื่อมวลชนที่จะมาช่วยในการวางรากฐานที่ดีให้กับประเทศ
ส่วนการปรับปรุงกฏหมายธุรกิจต่างด้าวนั้น เรื่องนี้ถือเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้การสนับสุนน และอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างชาติ แต่ในขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น อยู่ภายใต้ 4 เงื่อนไข คือ สนับสนุนการลงทุน ลดขั้นตอน อำนวยความสะดวก และไม่กระทบต่อนักลงทุนที่ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน