โดยความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ(ITA) เกิดขึ้นในการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO เมื่อเดือนธันวาคม 2539 โดยประเทศภาคีเริ่มแรกมี 29 ประเทศ ส่วนไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลง ITA ในปี 2540 ปัจจุบันความตกลง ITA มีสมาชิก 52 ประเทศ(นับสหภาพยุโรปเป็น 1) ครอบคลุมการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ประมาณร้อยละ 96 ของโลก สมาชิกมีพันธกรณีที่จะลดภาษีสินค้า IT เป็นศูนย์ และยกเลิกค่าธรรมเนียมพิเศษต่าง ๆ ให้กับสมาชิก WTO ทุกประเทศ ตามหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation Treatment : MFN) ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่รวมทั้งไทยได้ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว ทั้งนี้ สินค้าในความตกลง ITA ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อุปกรณ์การผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เครื่องมือและอุปกรณ์อื่นๆ สื่อบันทึกข้อมูลและซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ส่วนประกอบ
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ITA Expansion ช่วยส่งเสริมบทบาทของไทยในห่วงโซ่อุปทานสินค้า IT ของโลก เนื่องจากไทยเป็นกลจักรสำคัญในเครือข่ายการผลิตสินค้า IT ของโลกไทยจึงควรเข้าร่วม ITA Expansion ในเวทีการค้าโลก เพื่อเป็นการแสดงบทบาทอย่างสง่าผ่าเผยและสร้างความน่าเชื่อถือกับนานาประเทศ ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาวในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและนำรายได้เข้าสู่ประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงานฝีมือและการพัฒนานวัตกรรมด้าน IT เพื่อรองรับการเป็นฐานผลิตและส่งออกสินค้า และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ IT
นอกจากนี้จากการศึกษาของ Stephen J. Ezell (2012) พบว่า เมื่อประเทศใดเก็บภาษีนำเข้าชิ้นส่วนและสินค้า IT ในอัตราสูง หรือไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลง ITA เช่น อาร์เจนตินาและบราซิล จะส่งผลให้บริษัทผู้ผลติสินค้า IT ชั้นนำตัดประเทศดังกล่าวออกจากห่วงโซ่อุปทาน โดยหันไปผลิตในประเทศอื่นที่เป็นสมาชิกความตกลง ITA
"หากไทยไม่เข้าร่วม ITA Expansion อาจมีโอกาสที่ไทยจะถูกตัดออกจากห่วงโซ่อุปทานของสินค้า IT ของโลก ดังที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว