นอกจากนี้ รัฐบาลเตรียมเสนอกฏหมายที่เกี่ยวข้องให้ สนช.พิจารณาต่อไป ประกอบด้วย 1.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ 3.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 4.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ 5.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยส่งเสริมอุตสาหกรรมและกิตการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และ 6.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเลกทรอนิกส์
นายพรชัย กล่าวว่า ในระหว่างที่รอร่างกฏหมายผ่านการพิจารณา ทางกระทรวงฯ จะเดินหน้าบูรณาการโครงข่ายพื้นฐานภาครัฐ ไปถึงระดับตำบลทุกตำบล และนำข้อมูลทั้งหมดมาบูรณาการ คาดว่าสิ้นปี 58 จะสามารถดำเนินการได้ 70-80% และจะเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในสิ้นปี 59 พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการเก็บข้อมูลเป็นพื้นฐานหลักเพื่อนำไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้จะมีเพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์อากาศให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวประมงหรือเกษตรกรด้วย
สำหรับในปี 58 ได้กำหนดโครงการนำร่อง ประกอบไปด้วย 1.โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบบูรณาการ จัดการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตของโรงเรียนชายขอบ งบประมาณ 95 ล้านบาท 2.โครงการพัฒนาธุรกิจให้บริการเข้าใช้ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กรผ่านระบบคลาวว์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งบประมาณ 940 ล้านบาท 3.โครงการพัฒนาNationnal API'S Platform เพื่อรองรับนวัตกรรมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งบประมาณ 144 ล้านบาท และ 4.โครงการบริการรับฝากภาพCCTV เพื่อป้องกันและติดตามอาชญากรรม งบประมาณ 70 ล้านบาท
ด้านนายสิทธิชัย โภไคยอุดม นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ในฐานะอดีต รมว.ไอซีที กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและสังคมในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการค้าขาย อีคอมเมิร์ช ระบบโทรคมนาคม ธุรกรรมทางการเงิน ด้านการศึกษา ด้านความมั่นคง และด้านสุขภาพ
ดังนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาใน 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.ด้านโครงข่ายพื้นฐานที่จับต้องได้ ซึ่งจำเป็นต้องวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติคให้มีความครอบคลุมทั่วประเทศ โดยมีข้อเสนอว่า ควรจะมีการวางไฟเบอร์ออฟติคมครอบคลุมทุกหมู่บ้านภายใน 1 ปี และเข้าถึงทุกบ้านภายใน 3-4 ปี มีการวางระบบเครือข่ายโทรศัพท์ 3G และ 4G ให้ครอบคลุมและเพิ่มความเร็วให้มากกว่านี้ พร้อมทั้งสนับสนุน Data Center ให้รัฐและเอกชนได้ใช้งานได้ พร้อมทั้งปรับปรุงกฏระเบียบต่างๆให้ข้อมูลดิจิตัลให้มีความปลอดภัย รวมไปถึงปรับปรุงฐานข้อมูลทางราชการให้ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลราชการได้ และทุกหน่วยงานต้องเรียนรู้การใช้งานเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน หากไม่ปฏิบัติตามก็ให้มีการกำหนดบทลงโทษไว้ด้วย
ขณะที่นายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ ประธานคณะกรรมการธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มูลค่าธุรกิจไอซีทีในปี 56 มีมูลค่าถึง 1.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของจีดีพี ซึ่งเศรษฐกิจทุกภาคส่วนจำเป็นต้องมีเรื่องดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน
พร้อมกันนี้ได้เสนอให้รัฐบาลต้องหาแนวทางเชื่อมต่อระบบไฟเบอร์ออฟติคของภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน เพื่อลดปัญหาการลงทุนซ้ำซ้อน และหาแนวทางให้ค่าบริการโทรคมนาคมไม่สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ และเสนอแนวคิดการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน นำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะเป็นกองทุนในลักษณะที่ได้หวังผลกำไร แต่จะเป็นกองทุนในการช่วยลดต้นทุนเรื่องของโครงข่ายให้ต่ำลงและให้ประชาชนได้เป็นเจ้าของอย่างแท้จริง
ส่วนเรื่องการจัดตั้งเกตเวย์ก็เสนอให้ตั้งเป็นลักษณะอินฟราสตัคเจอร์ฟันด์ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมทั้งต้องบริหารจัดการให้เกตเวย์มีความมั่นคงและเกิดประโยชน์สูงสุด