"ขบวนคาราวานตู้คอนเทนเนอร์บรรจุเนื้อสุกรสดชุดปฐมฤกษ์ของการส่งออกไปยังสหพันธรัฐรัสเซียเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยนี้ ประกอบด้วยเนื้อสุกรแช่แข็งจำนวน 48 ตัน ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากการประสานความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนถึงสมาคมต่างๆ ได้แก่ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก เป็นต้น ทำให้ประเทศไทยมีมาตรฐานการควบคุมสินค้าทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับฟาร์มสุกร กระทั่งถึงโรงฆ่าและการแปรรูป" นายปีติพงศ์ กล่าว
ด้านนายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า รัสเซียมีความต้องการนำเข้าเนื้อสุกรจากไทยไม่น้อยกว่าเดือนละ 5,000 ตัน จากปริมาณความต้องการสุกรทั้งหมดปีละ 10 ล้านตัว ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้ขยายกำลังการผลิตเนื้อสุกรให้มากยิ่งขึ้น และจะส่งผลดีต่อประเทศไทยในด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ ตลอดจนนำเงินตราเข้าประเทศ ซึ่งการนำเข้าเนื้อสุกรชุดปฐมฤกษ์จากประเทศไทยในครั้งนี้ ทางการรัสเซียได้ส่งผู้แทนสัตวแพทย์รัสเซียเข้ามาทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์ในการควบคุมขบวนการผลิตเนื้อสุกรส่งออก ณ โรงฆ่าและแปรรูป
โดยปี 56 การส่งออกด้านปศุสัตว์ของไทยไปยังรัสเซียมีมูลค่ารวมถึง 83.14 ล้านบาท คิดเป็นน้ำหนักส่งออกรวม 1,098.66 ตันจากผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แปรรูป, เนื้อไก่แช่แข็ง และเนื้อเป็ดแช่แข็ง
"นับจากวันนี้เป็นต้นไป ประเทศไทยจะผลิตเนื้อสุกรป้อนสู่ตลาดรัสเซียและประเทศในเครือ Customs Unoin อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเปิดตลาดใหม่ๆ รวมถึงเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต" นายสัตวแพทย์อยุทธ์ กล่าว