นอกจากนี้ ในโอกาสเดียวกันจะมีการลงนามการซื้อขายข้าวระหว่างไทย-จีนอีก 1 ฉบับด้วย โดยมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ร่วมลงนามกับรมว.พาณิชย์ของจีน
ทั้งนี้ ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน(Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และ ช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133กิโลเมตร จากนั้นจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารร่วม และ จัดทำรายละเอียดการทำงาน เช่น การสำรวจเส้นทาง เทคนิค รูปแบบการลงทุน ซึ่งคาดว่าช่วงกลางเดือนมกราคม 2558 จะชัดเจน
นายอาคม กล่าวภายหลังหารือร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ซึ่งได้นำคณะนักลงทุนสถาบันเข้าพบว่า นักลงทุนต้องการรับทราบนโยบายความชัดเจนเกี่ยวกับแผนงานโครงการทั้งหมดของกระทรวงคมนาคม ทั้งกรอบเวลาการดำเนินงานและรูปแบบการลงทุน ซึ่งได้ยืนยันว่าแผนจะมีความชัดเจนในวันที่ 23 ธันวาคมนี้
โดยหลักในการลงทุนนั้นจะต้องใช้กลไกของตลาดทุนเข้ามาช่วยแน่นอน โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรูปแบบการลงทุน มีทั้งใช้งบประมาณ การกู้เงิน ร่วมทุนกับเอกชน หรือตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยการพิจารณาเลือกรูปแบบการลงทุน จะดูความเหมาะสมเป็นรายโครงการ ซึ่งหลักการนั้น โครงการที่มีการคืนทุนหรือได้ผลตอบแทนเร็ว เช่น รถไฟฟ้าในกทม.และปริมณฑล และ การลงทุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะ 2 มีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนฯ
แต่หากโครงการก่อสร้างถนน โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะคืนทุนยาวไม่เหมาะเพราะจะไม่ดึงดูดนักลงทุน จะใช้งบประมาณเป็นหลัก ซึ่งจะเริ่มประกวดราคาในปี 2558