แต่เนื่องจากยังไม่สามารถตกลงในรายการสินค้าที่จะลดภาษีนำเข้า โดยติดอยู่ที่เพียงไม่กี่รายการ ได้แก่ จอทีวี (LCD panel พิกัด 901380) อุปกรณ์สำหรับการผลิตมือถือ (machine tools for production of mobile devices พิกัด 845620, 845710, 845811, 845891, 845921, 845961, 846150, 846210, 846221, 846592, 846593, 846595 846692) โทรทัศน์ (TV พิกัด 852872) วิทยุรถยนต์ (Combined with sound recording or reproducing apparatus พิกัด 852721) และมิเตอร์แก๊ส (Parts and accessories (Gas, liquid or electricity supply or production meters, including calibrating meters therefor พิกัด 902890)
ขณะนี้ สมาชิกต่างคาดหวังว่าการเจรจา ITA Expansion จะสามารถสรุปผลได้โดยเร็ว และคาดการณ์ว่าสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจา เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จะใช้เวทีการประชุม World Economic Forum(WEF) ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ในปลายเดือนม.ค.58 เป็นเวทีผลักดันให้สมาชิกเร่งสรุปผลการเจรจา และสามารถที่จะประกาศความสำเร็จของการเจรจาในช่วงการประชุมดังกล่าว เพื่อปูทางไปสู่การสรุปผลการเจรจาของ WTO ในเรื่องอื่นๆ ต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ หากต้นปี 2558 สามารถตกลงกันได้ ไทยจะได้ประโยชน์อย่างมาก เพราะผลของความตกลงดังกล่าวจะช่วยลดหรือยกเลิกอัตราภาษีนำเข้าสินค้า IT ที่ผูกพันภายใต้ WTO ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ไทยมีความจำเป็นต้องนำเข้าเนื่องจากเป็นสินค้าที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศ เช่น พิกัด 8486 (กลุ่มเครื่องจักรและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์/แผงวงจรไฟฟ้า/จอภาพแบน) และพิกัด 8525 (กลุ่มเครื่องส่งสำหรับวิทยุโทรศัพท์, วิทยุ, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง หรือโทรทัศน์) หรือมีการผลิตแต่ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ และไม่มีคุณภาพเพียงพอสำหรับใช้ทดแทนสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้
นอกจากนี้ สินค้าจำนวนมากเป็นสินค้าต้นน้ำ(ร้อยละ 76) และสินค้ากลางน้ำ(ร้อยละ 22) โดยมีสินค้าหลายรายการ เช่น สินค้าพิกัด 854290 (ส่วนประกอบวงจรรวมที่ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์) พิกัด 852990 (ส่วนประกอบที่เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องส่งสำหรับวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ เครื่องรับสำหรับวิทยุกระจายเสียง มอนิเตอร์ และเครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์)ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และนำรายได้เข้าสู่ไทยมหาศาลในแต่ละปี โดยที่จะเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรม IT ของไทยเพื่อรองรับการปรับตัวและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิตอล (Digital Economy) ของไทยต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ITA Expansion มีเป้าหมายในการลด/ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้า IT ภายในระยะเวลา 3-7 ปี โดยขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของสินค้าของแต่ละประเทศที่ร่วมเจรจา ทั้งนี้ สมาชิกที่เข้าร่วมเจรจา ประกอบด้วยสหรัฐฯ, สหภาพยุโรป, แคนาดา, สวิตเซอร์แลนด์, นอร์เวย์, ไอซ์แลนด์, มอนเตเนโกร, แอลเบเนีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, คอสตาริกา, โดมินิกันรีพับลิค, เอลซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, โคลอมเบีย, อิสราเอล, ตุรกี, มอริเชียส, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และไทย