"ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แสดงให้เห็นว่า ตลาดมีความต้องการข้าวอยู่มาก เพราะขณะนี้ผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่ของไทยยังไม่ออก โดยในจำนวนผู้ที่ผ่านคุณสมบัตินั้น มีการยื่นซองเสนอซื้อสูงสุดถึง 60 ซอง หรือเสนอซื้อใน 60 คลัง ทั้งนี้คณะอนุกรรมการระบายข้าว จะใช้เวลาพิจารณาให้เร็วที่สุด หรือไม่เกิน 20 วัน ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว(นบข.) พิจารณาอนุมัติขายต่อไป" นางดวงพร กล่าว
นางดวงพร กล่าวว่า ครั้งนี้ แม้บริษัท สยามอินดิก้า ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมยื่นซองเสนอราคาซื้อข้าวรัฐ แต่ถูกตัดสิทธิ์ เพราะถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดกรณีขายข้าวรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ไปก่อนหน้านี้ และเราก็ได้หารือ ป.ป.ช.ไปแล้วว่าไม่มีสิทธิซื้อข้าวจากรัฐได้อีกจนกว่าคดีจะเสร็จสิ้น แต่ยังสามารถทำธุรกิจค้าข้าวได้ตามปกติ ส่วนบุคคลอีก 15 ราย ที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดกรณีเดียวกัน หากเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม หรือเป็นกรรมการคนสำคัญของบริษัทค้าข้าวก็จะถูกตัดสิทธิเช่นกัน
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการระบายข้าวจะตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งว่า ทั้ง 15 รายยังเป็นกรรมการคนสำคัญ หรือเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้าวอื่นๆ หรือมีการถือหุ้นไขว้กันไปมาในบริษัทอื่นๆ อีกหรือไม่ หากเป็นกรรมการสำคัญในบริษัทอื่นๆ อีก บริษัทนั้นๆ จะถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมการประมูลข้าวรัฐเช่นกัน โดยจะตรวจสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 20 วัน ตามทีโออาร์ที่กำหนดให้ผู้ยื่นซองยืนราคาที่เสนอซื้อ 20 วัน สำหรับการประมูลข้าวรัฐครั้งต่อไปนั้น จะพยายามให้เกิดขึ้นภายในเดือน ก.พ.นี้
"ข้าวในสต๊อกรัฐเชื่อว่าปีนี้น่าจะเป็นทอง เพราะจากการได้พุดคุยกับนักวิชาการหลายคน เห็นว่า ผลผลิตข้าวปีนี้จะมีน้อย ประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆ ไม่มีของ ขณะที่ความต้องการข้าวโลกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ถ้าบริหารจัดการดีๆ เราขายได้ราคาดีแน่นอน" นางดวงพร กล่าว