ขณะที่ทั้งปี 57 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 0.7% โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัว 0.3% เท่ากับการขยายตัวในปีก่อนหน้า การลงทุนรวมลดลง 2.8% โดยการลงทุนภาครัฐลดลง 6.1% และภาคเอกชนลดลง 1.9% การลงทุนรวมลดลง 2.8% มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลง 0.3% โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 0.7% แต่ราคาลดลง 1.0% เมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 5.4% การผลิตสาขาอุตสาหกรรมลดลง 1.1% และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 60.5% สาขาเกษตรกรรมขยายตัว 1.1% ราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยและรายได้เกษตรกรลดลง 6.2% และ 5.3% ตามลำดับ สาขาก่อสร้างลดลง 3.8% สาขาโรงแรมและภัตตาคารลดลง 2.1%
"การใช้จ่ายมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน การส่งออก และรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ในด้านการผลิต ปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกภาคการผลิต โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรม สาขาก่อสร้าง และสาขาโรงแรมและภัตตาคารที่กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบหลายไตรมาส ขณะที่สาขาค้าส่งค้าปลีกและสาขาอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเร่งขึ้นรวมทั้งปี 57 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 0.7 โดยการบริโภคภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.3 การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 2.8 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.9 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.8 ของ GDP"สภาพัฒน์ ระบุ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม ในฐานะเลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4/57 ขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ขยายตัว 0.6% ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของภาคนอกเกษตร ขณะที่ภาคเกษตรหดตัว ด้านอุปสงค์ปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ โดยการลงทุนรวมขยายตัว 3.2% เทียบกับ 2.9% ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว 4.1% ทั้งด้านการก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่ภาครัฐแม้ว่าจะยังคงลดลงต่อเนื่อง 0.3% แต่ได้ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 0.8% ในไตรมาสที่แล้ว สำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัว 5.5% เป็นผลมาจากรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิขยายตัวสูงถึง 8.7% ส่วนค่าตอบแทนแรงงานเพิ่มขึ้น 2.9%
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนขยายตัว 1.9% ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัว 2.2% จากการใช้จ่ายในสินค้าคงทนที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง แต่ได้ปรับตัวดีขึ้น และหมวดบริการสุทธิที่ชะลอตัวลง ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและกึ่งคงทนขยายตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ ภาคเกษตรที่ลดลง สำหรับอุปสงค์ต่างประเทศที่เร่งตัวขึ้นในไตรมาสนี้ เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัว เทียบกับที่หดตัวในไตรมาสที่แล้ว โดยเฉพาะการส่งออกบริการที่ขยายตัวในอัตราสูงเมื่อเทียบกับที่หดตัวติดต่อกันสามไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับการนำเข้าสินค้าและบริการยังคงหดตัวแม้ว่าจะปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิขยายตัวในอัตราสูง 21.9%
การผลิตภาคเกษตร หดตัว 1.6% เทียบกับที่ขยายตัว 1.6% ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลสำคัญมาจากสาขาเกษตรกรรม ล่าสัตว์ และป่าไม้ ที่ลดลง 3.5% โดยผลผลิตพืชผลที่สาคัญลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และสับปะรด ส่วนหมวดปศุสัตว์ชะลอตัวลง ขณะที่ประมงขยายตัวสูงขึ้นเป็นไตรมาสแรกจากที่หดตัวต่อเนื่องเก้าไตรมาส เนื่องจากปัญหา โรคระบาด EMS (Early Mortality Syndrome) ได้คลี่คลายลง
การผลิตภาคนอกเกษตร ขยายตัว 2.7% ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการขยายตัวของทุกสาขาการผลิต ที่สาคัญ ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม สาขาขนส่งและคมนาคม สาขาการค้า สาขาไฟฟ้าและประปาฯ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาบริการชุมชนฯ สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ สาขาการก่อสร้าง สาขาบริหารราชการฯ สาขาบริการด้านสุขภาพ และ สาขาการทำเหมืองแร่และย่อยหิน ส่วนสาขาที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง ได้แก่ สาขาตัวกลางทางการเงิน และสาขาการศึกษา
ทั้งนี้ GDP ที่ปรับค่าฤดูกาล ขยายตัว 1.7% สูงกว่า 1.2% ในไตรมาสที่แล้ว