โดยสำระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบด้วย 1. แก้ไขเพิ่มเติมให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงขึ้นได้โดยที่นายจ้างไม่จำต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้น
2. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการชั่วคราวได้ ในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ 3. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์สำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุนไว้
4. แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการบันทึกรายได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในกองทุนหลายนายจ้าง 5. แก้ไขเพิ่มเติมให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีบริบูรณ์ สามารถขอรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นงวดได้ 6. เพิ่มการกำหนดให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพสามารถโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นทีมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพได้ 7. แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการจ่ายเงินกองทุนให้แก่ลูกจ้างและกำหนดโทษผู้จัดการกองทุนในกรณีไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้แก้ไขระเบียบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ โดยให้พนักงาน ลูกจ้างสามารถส่งเงินเข้ากองทุนฯ ได้มากกว่านายจ้าง, กรณีเกิดวิกฤตสามารถให้พนักงาน, ลูกจ้างงดส่งเงินเข้ากองทุนฯได้ชั่วคราว, การให้สิทธิพนักงาน ลูกจ้างที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป สามารถขอรับเงินจากกองทุนฯ เป็นงวดแทนรับเงินก้อนเดียว