ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดให้ภาคเอกชนสองฝ่ายมีการจับคู่ธุรกิจการค้ากัน ซึ่งในครั้งนี้มีการจับคู่รวม 137 คู่ คาดว่าจะมีมูลการซื้อขายราว 22.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มข้าว, เทียนฝีมือ, กาแฟผงผสมครีมเทียม, บอลลูน, กล่องเครื่องประดับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการค้าและสมาคมวิชาชีพเกี่ยวกับธุรกิจก่อสร้างไทยกับผู้นำเข้าอินเดียในสาขาวัสดุก่อสร้าง, รับเหมาก่อสร้าง, ยางพารา และอาหาร เป็นต้น
นางดวงกมล โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมทางการตลาดในปี 58 นอกจากจะเข้าพบผู้นำเข้าผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ การจัดงานไทยส่งเสริมการขายแล้ว ยังมีการจัดงานแสดงสินค้าไทยแลนด์วีค รวมถึงการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าไทยในอินเดีย คาดว่าจะทำให้การค้าขยายตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ไทยได้วางยุทธศาสตร์การขยายการค้าการลงทุนด้วยการ สร้างเสริมและพัฒนาการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจการค้าไทย-อินเดีย, การเจาะกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและระดับสูง จำนวน 350 ล้านคนที่มีกำลังซื้อ โดยเน้นสินค้าไทยระดับคุณภาพปานกลาง-ดี และกลุ่มสินค้าที่มี Brand Awareness สูง, กระจายตลาดทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างจากส่วนกลางออกสู่ภูมิภาคต่างๆของอินเดีย และบุกตลาดเมืองรองที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูง เช่น กูวาฮาติ (รัฐอัสสัม), จันดิการ์ (รัฐปัญจาบ), วิสาขาปัตนัม (รัฐอันตรประเทศ), อาห์เมดาบัด (รัฐคุชราต), ปูเน่ (รัฐมหาราชตะ) และโคอิมปาตอง (รัฐทมิฬนาดู)
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจนั้น อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 9 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากจีน และญี่ปุ่น โดยอินเดียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี คาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 3 ของโลก รายได้ GDP 60% มาจากภาคบริการ โดยสาขาที่มีการขยายตัวและดึงดูดการลงทุนมากที่สุด คือ สารสนเทศและโทรคมนาคม, การเงินและการธนาคาร, การศึกษาวิจัย และการก่อสร้าง