ซึ่งหากการทิศทางของเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในหลายๆ มิติเป็นไปตามที่เฟดคาด ก็น่าจะทำให้เฟดสามารถเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ได้ในการประชุมรอบใกล้ๆ กลางปี ซึ่งอย่างเร็วที่สุดก็คือ การประชุม FOMC เดือนก.ค. 2558
แต่ในทางกลับกัน หากผลการประเมินทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ของเฟดพลิกเป็นอีกด้านหนึ่ง ก็อาจทำให้จังหวะแรกของการปรับขึ้นดอกเบี้ยต้องเลื่อนเวลาออกไปในช่วงท้ายๆ ปี ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอนดังกล่าวน่าจะส่งผลทำให้การเคลื่อนไหวของเงินบาทจากนี้ไปจนถึงช่วงกลางปีจะยังคงมีทิศทางที่ค่อนข้างผันผวน
ส่วนผลต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สัญญาณไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดน่าจะเอื้อเวลาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ร้อยละ 1.75 ไปตลอดทั้งปี 2558 หรือพิจารณาจุดยืนที่ผ่อนคลายลงกว่านี้ หากสัญญาณการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยยังคงมีความล่าช้ากว่าที่คาด
อนึ่ง ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 17-18 มี.ค. ซึ่งยุติลงด้วยการปรับเปลี่ยนถ้อยแถลงในส่วนที่สะท้อน “ความอดทนในการเริ่มต้นปรับจุดยืนนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ” ออกไปตามที่ตลาดคาด อาจทำให้ในช่วงหลายเดือนนับจากนี้ เป็นช่วงเวลาที่สภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและการเงินโลกจะทยอยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่อีกจังหวะเวลาที่สำคัญ ก็คือ “จุดเริ่มต้นปรับสมดุลนโยบายการเงิน” ของเฟด ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะถูกปรับขึ้นจากกรอบร้อยละ 0.0-0.25 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2551 หากข้อมูลเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ นับจากนี้จนถึงช่วงกลางปี ยังสะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ สะท้อนว่าจุดเริ่มของวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีโอกาสเคลื่อนไปอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 มากขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่เฟดต้องการรอสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทุกมิติ ซึ่งทำให้คาดว่า ขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในปีนี้น่าจะไม่มาก โดยอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ณ สิ้นปี 2558 น่าจะอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 0.50-0.75 จากกรอบร้อยละ 0.0-0.25 ในปัจจุบัน