2. เดิม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ กำหนดไว้ห้ามทำนิติกรรม 3 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแบ่งแยกที่ดินโดยหลีกเลี่ยงกฎหมาย ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ จึงเห็นควรยกเลิกข้อกำหนดนี้เพื่อลดภาระให้ประชาชน
3. การจัดการที่ดินซึ่งเปลี่ยนสภาพจากที่ดินเกษตรกรรมไปเป็นประเภทที่ดินที่ไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ได้มีความคิดเห็นจากคณะกรรมการฯ 2 แนวทาง คือ 1.เห็นว่าควรให้เป็นที่ดินราชพัสดุและให้กระทรวงการคลังดำเนินการต่อไป และ 2.เห็นว่าควรคงไว้เป็นที่ดินชุมชนเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยที่ประชุมมีมติว่าให้คงที่ดินดังกล่าวไว้เป็นที่ดิน ส.ป.ก.ต่อไป ซึ่งต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ส.ป.ก.ให้สอดคล้องต่ออำนาจการจัดการที่ดินดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร และป้องกันการแปรสภาพที่ดิน ส.ป.ก.เพื่อประโยชน์อื่น
4. กรณีผู้ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินสามารถโอนที่ดินไปยังทายาทโดยธรรมนั้น เมื่อตกทอดทางมรดกอาจเกิดข้อขัดแย้งในทางกฎหมายแพ่ง จึงได้กำหนดคุณสมบัติทายาทที่จะได้รับสิทธิให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยในการรับโอนหรือรับมรดกสิทธิที่ดินต้องไม่เกินเนื้อที่ที่กฎหมายกำหนด โดย ส.ป.ก.มีอำนาจเข้าไปจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกฎหมายกำหนดเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรมได้ ทั้งนี้ มติการประชุมดังกล่าวจะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป