ทั้งนี้ มาจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ลดลงโดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติที่สะท้อนจากต้นทุนราคาน้ำมันย้อนหลัง 6 เดือนซึ่งราคาน้ำมันได้ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติลดลง และส่งผลกระทบต่อค่า Ft ที่เรียกเก็บตั้งแต่ในงวดเดือน ม.ค.-เม.ย.58 ต่อเนื่องมาจนถึงงวดเดือน พ.ค.-ส.ค.58 อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์หยุดจ่ายก๊าซของพม่าตั้งแต่ช่วงวันที่ 10-27 เม.ย.นี้ ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากแผนเดิมจำนวน 56.49 ล้านลิตร
อย่างไรก็ตาม จากราคาเชื้อเพลิงที่ลดลง ส่งผลให้ค่า Ft งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.ลดลงจริงเพียงแค่ 5.69 สตางค์ต่อหน่วยแต่เนื่องจากคาดว่าแนวโน้มราคาก๊าซใน Ft งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.จะปรับลดลงอีก ส่งผลให้ค่า Ft มีโอกาสปรับลดลง 13 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้นจึงนำค่าเอฟทีทั้งสองงวดมาเฉลึ่ย ทำให้สามรรถปรับลดค่าเอฟทีงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. ลดลงได้9.35 สตางค์ต่อหน่วย และเอฟทีงวดถัดไปก็จะสามารถลดลงในระดับดังกล่าวเช่นกัน
จากการกำหนดค่าเอฟทีเรียกเก็บงวดเดือนพ.ค. – ส.ค. ในอัตรา 49.61 สตางค์ต่อหน่วย จะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทอยู่ที่ 3.76 บาทต่อหน่วย ส่วนกรณีที่ กกพ.ไม่สามารถลดค่าเอฟทีตามที่เอกชนเสนอมาที่ 15 สตางค์ต่อหน่วยได้ แม้ว่าราคาก๊าซจะปรับลดลง 20 บาทต่อล้านบีทียู เนื่องจากในช่วงแหล่งก๊าซเมียนมาร์ปิดซ่อมจำเป็นตัองใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเข้ามาทดแทน