ขณะเดียวกันร้านจำหน่ายยาป้องกันหรือยากำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในนาข้าวก็เริ่มทยอยปรับลดราคาเช่นเดียว โดยลดราคาลงจากราคาจำหน่ายปลีกในช่วงต้นปีประมาณ 5-10% พร้อมทั้งเตรียมออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการเกี่ยวกับการปรับลดราคาและราคาจำหน่ายปลีกแนะนำค่าบริการรถเกี่ยวนวดข้าวด้วย
"ตอนนี้ร้านค้าต่างๆ เริ่มทยอยปรับลดราคาตามที่กรมฯ ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทยให้ช่วยลดราคา โดยหลังจากนี้กรมฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืช ทั้งในกรุงเทพฯ และทุกจังหวัดทั่วประเทศเพื่อให้มีการปรับลดราคาจำหน่ายดังกล่าว เพื่อลดต้นทุนเกษตรกรและป้องกันมิให้มีการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาจำหน่ายด้วย แต่ในกรณีที่ราคาวัตถุดิบนำเข้าเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามราคาตลาดโลก กรมฯจะพิจารณาดูว่าจะให้มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามต้นทุนวัตถุดิบต่อไป" นายบุณยฤทธิ์ กล่าว
สำหรับราคาเคมีเกษตรที่ปรับลดราคา ประกอบด้วย ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในนาข้าวจำนวน 4 สูตร จะลดราคาลงจากราคาจำหน่ายปลีกในช่วงเดือน ม.ค.58 กระสอบละ 40-50 บาท หรือลดลง 6.02-8.26% โดยสูตร 46-0-0(ยูเรีย) ลดลงกระสอบละ 40 บาทหรือ 6.02% ส่วนสูตร 16-20-0, สูตร 16-16-8 และสูตร 16-8-8 ลดลงกระสอบละ 50 บาท หรือ 6.49-8.26%
ขณะที่ปุ๋ยพืชชนิดอื่นๆ เช่น ยางพาราจำนวน 3 สูตร คือ สูตร 18-4-5, สูตร 14-4-9 และสูตร 15-7-18 ลดลงกระสอบละ 25-40 บาท หรือ 4.39-6.90%, ปาล์มน้ำมันจำนวน 2 สูตร คือ สูตร 21-0-0 และสูตร 0-0-60 ลดลงกระสอบละ 30-40 บาท หรือ 4.90-7.50%, ข้าวโพด และมันสำปะหลัง จำนวน 2 สูตร คือ สูตร 15-15-15 และสูตร 18-8-8 ลดลงกระสอบละ 30-50 บาท หรือ 4.04-5.68%
นายบุณยฤทธิ์ กล่าวว่า แนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรนั้น กระทรวงฯ จะไม่ใช้มาตรการบิดเบือนกลไกตลาด แต่จะให้ความสำคัญผ่านการขอความร่วมมือผู้ประกอบการเอกชนตามมาตรการต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา รมว.พาณิชย์ ได้มีมาตรการในการลดต้นทุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร ทำให้ต้นทุนลดลงโดยเฉลี่ยไร่ละ 432 บาท มาตรการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรเพื่อชะลอการขาย มาตรการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกข้าวเปลือก และจัดตลาดนัดรับซื้อจากเกษตรกร ช่วยให้ราคา ณ ท่าข้าว โรงสี ซึ่งทำให้ราคาข้าวเปลือกปรับเพิ่มขึ้นตันละ 100-800 บาท เป็นต้น