ทั้งนี้ค่าดัชนีฯที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.4 เพิ่มขึ้นจาก 99.2ในเดือนก.พ. โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ที่เพิ่มเกิดจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ
ด้านข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมี.ค.นี้ คือ ผู้ประกอบการต้องการให้มีการเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน พร้อมทั้งดูแลค่าเงินให้มีเสถียรภาพและอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ อีกทั้งให้การสนับสนุนการใช้นวัตกรรมในการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าสินค้า รวมถึงสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเร่งแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
นายสุพันธุ์ กล่าวว่า หากจะดึงดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมให้กลับมามากกว่า 100 นั้น ภาครัฐฯจะต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้ได้ไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท โดยทาง ส.อ.ท. เชื่อมั่นว่าภาครัฐฯจะเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณต่างๆได้อย่างเห็นได้ชัดในช่วงไตรมาส 3/58 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ส.อ.ท. เสนอให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีการประชุมในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.5% เพื่อดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง เพราะหากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอีก 3-5% จะสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันและส่งผลดีต่อภาคการส่งออกด้วย
"ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาประเทศอื่นๆในภูมิภาคมีค่าเงินที่อ่อนลงประมาณ 6% แต่ประเทศเราค่าเงินยังคงเข็งค่าอยู่ แต่หากเราสามารถดูแลค่าเงินให้อ่อนค่าลงก็จะสามารถแข่งขันได้มากขึ้น โดยเรามองว่าค่าเงินบาทควรจะอ่อนค่าลงอีกราว 3-5% เพื่อเป็นการกระตุ้นการส่งออก และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย"นายสุพันธุ์ กล่าว