สำหรับโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2558 เพื่อดำเนินการให้ความคุ้มครองแก่เกษตรกรลูกค้าผู้เอาประกันภัย ครอบคลุมภัยธรรมชาติ 7 ประเภท โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ อุทกภัย ฝนทิ้งช่วง ลมพายุ อากาศหนาว ลูกเห็บ และอัคคีภัย รวมทั้งภัยศัตรูพืชและโรคระบาด มีการแบ่งพื้นที่การรับประกันภัยออกเป็น 5 พื้นที่ตามระดับความเสี่ยง เพื่อจัดเก็บเบี้ยประกันภัยในอัตราที่แตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงของพื้นที่ ตั้งแต่ 124.12 บาท ถึง 483.64 บาท โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ รับภาระค่าเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 60 - 100 บาทต่อไร่ และรัฐอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยในส่วนที่เหลือ 64.12 – 383.64 บาทต่อไร่
ทั้งนี้ ภาคเอกชนเป็นผู้รับประกันภัย วงเงินความคุ้มครอง 1,111 บาท ต่อไร่ ตลอดช่วงการเพาะปลูกสำหรับภัยธรรมชาติ 6 ประเภทดังกล่าวและวงเงินความคุ้มครอง 555 บาทต่อไร่ สำหรับภัยศัตรูพืชและโรคระบาด โดยการจ่ายค่าสินไหมทดแทนใช้เกณฑ์การประเมินความเสียหายที่ภาครัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับการดำเนินโครงการปี 2554 – กำหนดจำนวนพื้นที่เป้าหมายการเอาประกันภัยทั่วประเทศเป็นจำนวน 1.5 ล้านไร่ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ เริ่มขายกรมธรรม์ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม – 14 สิงหาคม 2558 สำหรับทุกภาคยกเว้นภาคใต้สิ้นสุดการรับทำประกันภัยวันที่ 11 ธันวาคม 2558
รมว.คลัง กล่าวต่อว่า ในปีการผลิต 2558 นี้ รัฐบาลได้เริ่มโครงการเร็วขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มา ทำให้เกษตรกรมีโอกาสในการเข้าร่วมและได้ประโยชน์จากโครงการมากขึ้น "ธ.ก.ส.จะทำหน้าที่บริหารโครงการประกันภัยข้าวนาปีและเป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรลูกค้าผู้เอาประกันภัย รวมทั้งทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลโดยจะขอชดเชยเงินจากรัฐบาลในส่วนของเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยตามจำนวนที่จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 476 ล้านบาท พร้อมเห็นชอบให้ ธ.ก.ส.สมทบค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับเกษตรกรลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการในอัตราไร่ละ 10 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินกองทุนบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ ซึ่ง ธ.ก.ส.พร้อมดำเนินการให้ทันฤดูกาลเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคมนี้" นายสมหมายกล่าว
สำหรับกิจกรรมวันเปิดตัวโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2558 ได้รับความร่วมมือของส่วนงานที่เกี่ยวข้องทั้ งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กรมส่งเสริมการเกษตร สมาคมประกันวินาศภัยไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ) ธ.ก.ส.ในฐานะผู้บริหารโครงการ พร้อมด้วยบริษัทผู้รับประกันภัย 7 บริษัทคือ กรุงเทพประกันภัยจำกัด (มหาชน) เจ้าพระยาประกันภัยจำกัด (มหาชน) ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) ทูนประกันภัย จำกัด(มหาชน) นวกิจประกันภัย จำกัด(มหาชน) ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด(มหาชน) วิริยะประกันภัย จำกัด(มหาชน)