ดังนั้น สมาคมฯ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการปรับขึ้นภาษีที่ส่งผลกระทบต่อแอลพีจีภาคขนส่ง 3 รายการ คือ 1.ภาษีสรรพสามิตก๊าซแอลพีจีจากปัจจุบัน 2.17 บาท/กก. เป็น 5 บาท/กก.ซึ่งส่งผลต่อราคาขายปลีกสูงขึ้น อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การลักลอบใช้ผิดประเภท
2.ภาษีป้ายรถยนต์ใช้แอลพีจี ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่ใช้เชื้อเพลิงช่วยลดมลพิษ จะส่งผลให้มีการหลีกเลี่ยงไม่แจ้งจดทะเบียนกับกรมการขนส่ง 3.ภาษีนำเข้าอุปกรณ์แก๊สรถยนต์แอลพีจี ซึ่งไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ จึงไม่ควรตั้งกำแพงภาษีเพื่อกีดกัน
"การปรับขึ้นภาษีเหล่านี้ยิ่งจะเป็นการสร้างปัญหาและไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการเลือกปฏิบัติ ทั้งที่ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเหมือนในต่างประเทศ" นายสุรศักดิ์ กล่าว
นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ความเสียหายที่คาดว่าจะตามมาหากมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตแอลพีจีและภาษีป้ายรถยนต์แอลพีจี ได้แก่ ธุรกิจของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องราว 3.9 พันล้านบาท/เดือน, การจ้างงานได้รับผลกระทบ 2.7 หมื่นคน
"หากรัฐจะยกเลิกการใช้แอลพีจีก็ควรมีแผนรองรับที่ชัดเจน หากไม่เช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาเหมือนเอ็นจีวีในขณะนี้ รัฐควรพิจารณาด้วยเหตุและผล เพื่อเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นในภูมิภาคตามนโยบายที่ต้องการเป็นฮับในเรื่องพลังงานและการขนส่ง" นายสุรศักดิ์ กล่าว