โดยการบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 62,995.76 ล้านบาท ประกอบด้วย
ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล จำนวน 18,167.89 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 16,102.76 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 2 รุ่น จำนวน 15,000 ล้านบาท มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.53 ต่อปี และพันธบัตรออมทรัพย์ จำนวน 1,102.76 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ จำนวน 200 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ
- การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,423.13 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 442 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 วงเงิน 2,500 ล้านบาท
การเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐบาล จำนวน 607.07 ล้านบาท ประกอบด้วย การเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 74.12 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องการจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง และการเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 532.95 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 23,014 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ปรับโครงสร้างหนี้สัญญาเงินกู้ระยะสั้น ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 14,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลทั้งจำนวน
- การปรับโครงสร้างหนี้ล่วงหน้า สำหรับพันธบัตรรัฐบาลที่จะครบกำหนดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 การออก R-bill จำนวน 9,014 ล้านบาท
การชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 21,206.80 ล้านบาท แบ่งเป็น
- การชำระหนี้โดยใช้เงินจากงบประมาณ จำนวน 11,297.65 ล้านบาท แบ่งเป็น ชำระต้นเงิน 3,000 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 8,297.65 ล้านบาท
- การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้มาเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 8,970.22 ล้านบาท โดยใช้เงินค่าธรรมเนียมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับจากธนาคารพาณิชย์ภายใต้ พ.ร.ก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือ FIDF ฯ แบ่งเป็น ชำระต้นเงิน 5,000 ล้านบาท ชำระดอกเบี้ย 3,970.22 ล้านบาท
- การชำระหนี้ของเงินกู้ให้กู้ต่อของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 938.93 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย
การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 27,810.07 ล้านบาท ประกอบด้วย
การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2,900 ล้านบาท แบ่งเป็น การออกพันธบัตรที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 2,000 ล้านบาท และการทำสัญญาเงินกู้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งกระทรวงการคลังค้ำประกันของการเคหะแห่งชาติ จำนวน 900 ล้านบาท
การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 110.07 ล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายของการประปานครหลวง 90.03 ล้านบาท และการเบิกจ่ายของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 20.04 ล้านบาท
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ในเดือนมีนาคม 2558 รัฐวิสาหกิจได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ โดยการขยายอายุสัญญาเงินกู้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงินรวม 24,800 ล้านบาท