หลังจากนั้นจะเปิดประมูลอย่างเป็นทางการ โดยเปิดให้บริษัทไทยยื่นประมูลเท่านั้น ในลักษณะความร่วมมือแบบ PPP และคาดว่าจะลงนามได้ในเดือนก.ย.-ต.ค.นี้ และคาดใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี อย่างไรก็ดีบริษัทไทยที่เข้าร่วมประมูลอาจจะมีร่วมทุนกับต่างประเทศได้
สำหรับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น มี 2 เส้นทางที่จะมีการลงนามความร่วมมือ (MOC) ในวันที่27-28 พ.ค.นี้ที่โตเกียว โดย 2 เส้นทางได้แก่ กรุงเทพ-เชียงใหม่ เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงความเร็ว 250-275 กม./ชม. รางขนาดมาตรฐาน 1.435 ม. วงเงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท ทั้งนี้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันในเดือนมิ.ย. และร่วมกันสำรวจให้แล้วเสร็จในธ.ค.หรือต้นปี 59 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในไตรมาส 2/59 คาดว่าใช้เวลาก่อสร้าง 4ปี
ทั้งนี้งานโยธาจะใช้เอกชนไทย ขณะที่ระบบรางระบบอาณัติสัญญาณจะใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่นส่วนการเดินรถและซ่อมบำรุงไทบกับญี่ปุ่นจะแบ่งกัน
"นโยบายของรัฐที่มีต่อเนื่องในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ได้ร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ขอเข้ามาดำเนินการความเร็ว 200 ไม่เกิน 300 กม./ชม. เราคิดว่าน่าจะวิ่งความเร็ว. 250-275 กม./ชม. ซึ่งจะใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมงครึ่ง"รมว.คมนาคมกล่าว
ส่วนอีกเส้นทางคือกาญจนบุรี-กรุงเทพ-สระแก้วและกรุงเทพ- แหลมฉบัง ระยะทางปประมาณ 600 กม. ใช้รางขนาด1 เมตรซึ่งเป็นเส้นทางที่ไทยได้สำรวจแล้ว หลังเซ็น MOC ญี่ปุ่นจะเข้ามาสำรวจอีก จากนั้นถึงจะประเมินงบลงทุน. นอกจากนี้เส้นทางแม่สอด-ตาก- พิษณุโลก-เพชรบูรณะ-มุกดาหาร ทางญี่ปุ่นจะเข้ามาสำรวจด้วย
สำหรับความร่วมมือรถไฟไทยและจีน เส้นทางกรุงเทพ- แก่งคอย-นครราชสีมา- หนองคาย ระยะทาง 873 กม. งบลงทุน 3 แสนล้านบาท ขนาดรางมาตรฐาน ความเร็ว 180กม./ชม.โดยแบ่งดำเนินการ 4 ช่วง คือ กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง. 133 กม., แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม., แก่งคอย- นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม.
ทั้งนี้ งานโยธาคาดงบ 1 แสนล้านบาท แบ่ง 70% ของงานจะเปิดให้เอกชนไทยเข้าร่วมงาน ขณะที่งาน System work งบ 1.2-1.3 แสนล้านบาทแบ่งให้เอกชนไทย 30% เข้าร่วมส่วนที่เหลือ 70%ให้จีนเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนงานเดินรถและซ่อมบำรุง คาดใช้ 1 แสนล้านบาท โดย 3 ปีแรกให้จีนดำเนินการ ปีที่ 4-6 ให้จีนและไทยแบ่งคนละครึ่ง ในปีที่ 7 และหลังจากนั้น ไทยโดยการรถไฟแห่งปนะเทศไทย(รฟท.) จะเข้ามาเดินรถเอง
สำหรับรถไฟเส้นทางเดิมในปัจจุบันที่มีระยะทาง 4,400 กม. เป็นขนาดราง 1 เมตรทางเดียวจะมีการปรับปรุงใหญ่ที่จะดำเนินการเลแล้วเสร็จในปี60 โดยในปี58 จะดำเนินการ 970 กม. ปี59 ดำเนินการ 2,500 ก.ม. และในปี60 ดำเนินการอรก 600 กม. เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มความเร็วรถไฟได้มาที่ 100-120 กม./ชม. จากที่วิ่งอยู่ 50 กม./ชม. เพราะราง. ไม้หมอนเก่าและชำรุด
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่เป็นโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ตามแผนมี 10 เส้นทาง ระยะทาง 464 กม. คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 8 ปีจากปัจจุบันมี 4 เส้นทางระยะทาง 80 กม. หลังจากนั้นจะแก้ไขปัญหาจราจร และการคมนาคมจะปลี่ยนไปมีการเดินทางสะดวกขึ้น
ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย 8 ปี ( ปี58-65) ใช้เงินลงทุน จำนวน 1.9 ล้านล้านบาท ไม่รวมการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 ใช้เงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท. การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือปากยาราและยังไม่รวมรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย กรุงเทพ-แก่งคอย- มาบตาพุด กรุงเทพ- เชียงใหม่และกรุงเทพ-ปาตังบาซาร์ ซึ่งรวมแล้วใช่เงินลงทุนเป็นหลักล้านล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงคมนาคมรวมจำนวน 1.3-1.4 แสนล้านบาทที่เป็นงบสร้างถนน 9.5 หมื่นล้านสม และได้เพิ่มจากงบขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีก 4 หมื่นล้านบาท