"ทั้ง 20 กิจการคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้ราว 1.41 ล้านล้านบาท และเกิดความเชื่อมโยงใน 3 ระดับ" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
กลุ่มที่ 1 กิจการที่สมควรให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Opt-out) มีทั้งหมด 6 กิจการ คือ กิจการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเมือง จำนวน 8 โครงการ ประมาณการเงินลงทุน 5.68 แสนล้านบาท, กิจการพัฒนาถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทางในเมือง จำนวน 1 โครงการ 1.28 หมื่นล้านบาท , กิจการพัฒนาท่าเรือขนส่งสินค้า จำนวน 7 โครงการ 1.32 แสนล้านบาท, กิจการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง จำนวน 2 โครงการ 2.34 แสนล้านบาท, กิจการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม จำนวน 2 โครงการ 4.76 หมื่นล้านบาท และ กิจการพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จำนวน 1 โครงการ 2 หมื่นล้านบาท
กลุ่มที่ 2 กิจการที่รัฐส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Opt-in) จำนวน 14 กิจการ คือ กิจการพัฒนาถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทางระหว่างเมือง จำนวน 4 โครงการ ประมาณการเงินลงทุน 2.27 แสนล้านบาท , กิจการพัฒนาสถานีขนส่งบรรจุแยกและกระจายสินค้า จำนวน 4 โครงการ 2.1 หมื่นล้านบาท, กิจการพัฒนาระบบตั๋วร่วม จำนวน 1 โครงการ 600 ล้านบาท, กิจการพัฒนาธุรกิจและบริหารพื้นที่ท่าอากาศยาน , กิจการพัฒนาระบบจัดการคุณภาพน้ำ จำนวน 7 โครงการ 5.1 หมื่นล้านบาท ,
กิจการพัฒนาระบบชลประทาน, กิจการพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย จำนวน 1 โครงการ 3.5 พันล้านบาท, กิจการพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ จำนวน 8 โครงการ 2.88 หมื่นล้านบาท , กิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข จำนวน 3 โครงการ 7.1 พันล้านบาท, กิจการพัฒนาด้านยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวน 3 โครงการ 194 ล้านบาท, กิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จำนวน 6 โครงการ 3.88 หมื่นล้านบาท, กิจการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล จำนวน 5 โครงการ 1.48 หมื่นล้านบาท,
กิจการพัฒนาศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ จำนวน 1 โครงการ 2.7 พันล้านบาท และ กิจการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส จำนวน 1 โครงการ