ในขณะเดียวกัน ได้ยืนยันเพดานความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ A2 และสกุลเงินบาทที่ A1 พร้อมทั้งยืนยันเพดานเงินฝากธนาคารสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ Baa1 และสกุลเงินบาทที่ A1
ตารางแสดงผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดย Moody’s ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2558
Rating Status Foreign Currency Local Currency Outlook Long-term Short-term Long-term Short-term Government Bond Rating Baa1 P-1 Baa1 - Stable Country Ceiling A2 - A1 - - Bank Deposit Ceiling Baa1 P-2 A1 - -
นอกจากนี้ Moody’s ชี้แจงว่า มุมมองความน่าเชื่อถือที่มีเสถียรภาพ สะท้อนว่าน่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอันดับความ น่าเชื่อถือในช่วง 12 – 18 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยที่จะทำให้ Moody’s ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย (1) ความ คืบหน้าในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการคลัง (2) การจำกัดภาระผูกพันทางการคลังที่อาจเกิดจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ระยะสั้น และ (3) สถานการณ์ทางการเมืองและธรรมาภิบาลปรับตัวดีขึ้น
ส่วนปัจจัยที่จะทำให้ Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย (1) เกิดการเผชิญหน้าทางการเมืองอีกจน ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการท่องเที่ยว (2) ต้นทุนการระดมทุนของรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากความไม่แน่นอนทางการ เมืองหรือการขาดวินัยทางการคลัง และ (3) ดุลการชำระเงินและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เหตุผลในการยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือและมุมมองความน่าเชื่อถือครั้งนี้ Moody’s ประเมินจากปัจจัย 4 ด้าน ดังนี้ 1. ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ Moody’s ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็ง โดยพิจารณาจากขนาดของเศรษฐกิจและ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจช่วงปี 2552 – 2561 (โดยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย และความสามารถในการแข่ง ขันของภาคเอกชน) ถึงแม้ว่าระดับรายได้ต่อหัวของประชากรจะยังอยู่ในระดับต่ำก็ตาม อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2551 เศรษฐกิจไทยมี ความผันผวนมากขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกและภัยพิบัติในต่างประเทศ และเหตุมหาอุทกภัยในประเทศในปี 2554 โดยในปี 2557 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ระดับหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ใน ระดับสูงทำให้เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ล่าช้า และการส่งออกที่หดตัวตาม อุปสงค์ในตลาดโลก อย่างไรก็ดี Moody’s คาดว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลจะช่วยให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มขึ้นและ สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป
ภาคการส่งออกที่ไม่ขยายตัวถูกทดแทนด้วยการขยายตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็น ได้ชัดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ รัฐบาลปัจจุบันดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และ บรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงในด้านต่างๆ โดยการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อ เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวและช่วยให้หลุดพ้น จากกับดักรายได้ระดับปานกลาง อย่างไรก็ดี Moody’s อาจมีการทบทวน หากสถานการณ์ทางการเมืองส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยาย ตัวในระดับต่ำเป็นเวลานาน
2. ความแข็งแกร่งขององค์กรภาครัฐ แม้ว่าคะแนนด้านธรรมาภิบาลที่พิจารณาจากดัชนีธรรมาภิบาลโลก (Worldwide Governance Indicators) จะลดลง เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง และ การมีส่วนร่วมทางการเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ด้านการบังคับใช้ กฎหมาย และคุณภาพของกฎระเบียบทางสังคมยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
เนื่องจากประเทศไทยมีองค์กรภาครัฐที่เข้มแข็ง และดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) สามารถรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้กรอบได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ต้นทุนการระดมทุนของรัฐบาลอยู่ในระดับ ต่ำและมีเสถียรภาพ อีกทั้งหน่วยงานที่ดำเนินนโยบายการคลังและการบริหารจัดการหนี้สาธารณะสามารถปฏิบัติตามกรอบวินัยทางการ คลัง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงทางการคลังจากนโยบายประชานิยมได้