โดยการยุติรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบแอนาล็อกควรมีแผนเตรียมความพร้อมกับประชาชนด้วย ซึ่งหากผ่านการพิจารณาแล้วจะเสนอให้นำเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อเป็นวาระแห่งชาติจากนี้ไปอีก 3 ปี เพื่อมอบนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานภาครัฐส่วนต่างๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องช่วยทำงานกับ กสทช.ในการเตรียมความพร้อมประชาชน
"การจะยุติทีวีแอนาล็อกได้จะต้องมั่นใจว่าทุกครัวเรือนทุกจุดในประเทศเข้าถึงทีวีในระบบดิจิตอลได้แล้ว จึงต้องมีการสำรวจสถิติครัวเรืออย่างเป็นระบบเพื่อให้ทราบตัวเลขจริงๆ จากนั้นต้องสำรวจในพื้นที่ในชุมชนว่ารับชมดิจิตอลทีวีได้กี่ครัวเรือน เป้าหมายคือ 95% ของครัวเรือน ที่สามารถเปลี่ยนผ่านการรับชมทีวีดิจิตอลได้แล้ว" น.ส.สุภิญญา กล่าว
ส่วนการขยายโครงข่ายดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน มีวาระการพิจารณา ได้แก่ การขออุทธรณ์คำสั่งของกรมประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่สามารถเริ่มขยายโครงข่ายตามระยะเวลาที่กำหนด และวาระการติดตั้งโครงข่ายดิจิตอลทีวีที่ล่าช้ากว่าแผนของ MCOT ที่ไม่สามารถติดตั้งให้แล้วเสร็จทันในวันที่ 1 มิ.ย.58 ทั้งนี้ความล่าช้ามาจากความไม่พร้อมในการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกของ MCOT และไทยพีบีเอส ซึ่งผลกระทบต่อการขยายโครงข่ายโทรทัศน์ทุกราย ซึ่งที่ประชุมฯจะมีการพิจารณาโทษทางปกครองต่อไป
วาระสำคัญอื่นๆ น่าจับตา ได้แก่ ช่องพีชทีวี(Peace TV) ร้องขอความเป็นธรรม และอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต วาระรายงานความผิดการออกอากาศรายการทางสถานี 24 ทีวี(ยี่สิบสี่ทีวี) รวมถึงวาระข้อร้องเรียนของโครงข่ายทีวีดาวเทียมเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมขายกล่องรับสัญญาณเคเบิล ดาวเทียม และกรณีการเก็บค่าสมาชิกโดยไม่มีใบอนุญาต วาระความเห็นจากผู้ประกอบการกรณีผู้ประกอบกิจการโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิก นำบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปเผยแพร่ซ้ำในหมวดหมู่บริการโทรทัศน์อื่นๆ และการพิจารณาร่างประกาศ เรื่องแผนพัฒนากิจการกระจายเสียง และรายงานการประเมินผลกระทบแผนพัฒนากิจการกระจายเสียง(RIA) วิทยุดิจิตอล เป็นต้น