"ลุ่มเจ้าพระยาปลูกก่อนเพราะมีระบบชลประทาน แต่พอฝนล่าช้าจึงเกิดการตื่นตระหนกทั่วไปหมด จริงๆ อุตุฯ ก็บอกไว้นานแล้วว่าฝนโดยรวมทั่วประเทศจะลดลง 10% และฝนจะเลื่อนไปตกราวสิงหาคม และจะไปเป็นปกติราวต้นพฤศจิกายน" นายปีติพงศ์ กล่าว
พร้อมระบุว่า เกษตรกรจำเป็นต้องทราบข้อมูลนี้แต่ก็ไม่ควรจะตื่นตระหนก เพราะปกติแล้วในแต่ละปีพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่อยู่นอกเขตชลประทานก็ปลูกข้าวปีละครั้งเดียวอยู่แล้ว เว้นแต่จะเป็นพื้นที่ในเขตชลประทานที่อาจจะเคยปลูกได้ 2-3 ครั้งต่อปี แต่ปีนี้อาจจะเหลือปลูกได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า สถานการณ์จะเข้าสู่วิกฤติหรือไม่นั้นจะเห็นชัดเจนในช่วงปลายเดือน ก.ค.ถึงต้น ส.ค.ซึ่งหากช่วงนั้นฝนไม่ตกลงมาตามที่คาดการณ์ไว้ก็จะทำให้การเพาะปลูกข้าวของเกษตรเข้าสู่วิกฤติแน่
"ถ้าจะดูวิกฤติหรือไม่ ต้องดูปลายกรกฎาคมหรือต้นสิงหาคม เพราะขณะนี้ยังแค่ฝนทิ้งช่วง" นายปีติพงศ์ กล่าว
อนึ่ง สำหรับพื้นที่ที่ยังไม่เริ่มเพาะปลูกข้าวอีก 3.45 ล้านไร่นั้น กระทรวงเกษตรฯ ได้วางแนวทางไว้ 4 แนวทาง คือ 1.ให้เกษตรกรเลื่อนการเพาะปลูกข้าวไปเป็นช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 2.ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยและมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่า เช่น ข้าวโพด 3.ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกไปเป็นเกษตรผสมผสาน 4.หากจำเป็นต้องเลื่อนการเพาะปลูกข้าวออกไปเรื่อยๆ อาจจะมีการพิจารณาเรื่องการเลื่อนหรือพักชำระหนี้ให้เกษตรกร