ข้อเท็จจริงในการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะมีระบบจัดการทั้งขี้เถ้าหนัก (Bottom Ash) และขี้เถ้าเบาหรือเถ้าลอย (Fly Ash) ตามมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเถ้าหนักจะถูกลำเลียงด้วยระบบสายพานไปเก็บยังบ่อฝังกลบ ที่มีขนาดความจุบ่อเพียงพอตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า ส่วนเถ้าลอยจะถูกดักจับด้วยอุปกรณ์ดักจับฝุ่นละอองแบบไฟฟ้าสถิต ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์หรือรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม
ทั้งนี้ จากการวิจัยของโครงการวิจัยองมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าการนำเถ้าลอยไปประยุกต์ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตใดๆ ทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ในการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น นอกจากระบบการจัดการเถ้าหนักและเถ้าลอยดังกล่าวแล้ว กฟผ. ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาควบคุมมลสาร โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมมลสารประสิทธิภาพสูงหลายขั้นตอน ทั้งการดักจับก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน การดับจับไอปรอท การดักจับฝุ่นขนาดเล็กหรือเถ้าลอย การดูดซับก๊าซซัลเฟอร์ไดอออกไซด์เกิดผลพลอยได้คือยิปซัมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และโลหะหนักที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งดีกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดกว่า 3 เท่าตัว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ โดยหน่วยงานกำกับดูแล และชุมชนรอบบริเวณโรงไฟฟ้า
“กฟผ. ยินดีรับฟังข้อวิตกห่วงใย และพร้อมชี้แจงทุกประเด็นคำถาม อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ให้คำนึงถึงข้อเท็จจริง เพื่อไม่สร้างให้สังคมเกิดความสับสนจากเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงในโลกออนไลน์" โฆษก กฟผ. กล่าว