ทั้งนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP สิทธิพิเศษฯ GSP จะช่วยยกเว้นภาษีนำเข้า ซึ่ง เป็นแต้มต่อที่ช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ประเทศที่ได้รับสิทธิฯ จะสามารถขอรับสิทธิพิเศษฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป หรือ 30 วันนับจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามผ่านร่างกฎหมายข้างต้น
เมื่อสหรัฐฯ ประกาศต่ออายุโครงการ GSP เรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าสามารถยื่นขอคืนภาษีอากรขาเข้า (Refund) ที่ชำระภาษีไว้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถขอคืนภาษีอากรนำเข้าได้ภายใน 180 วัน หลัง จากโครงการ GSP มีผลบังคับใช้ ในส่วนของประเทศไทยจะสามารถขอคืนภาษีขาเข้าได้กว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 6,200 ล้านบาท โดยมีรายการสินค้าที่ได้รับคืนภาษีนำเข้า อาทิ อาหารปรุงแต่ง จะได้รับคืนภาษีนำเข้ากว่า 390 ล้าน บาท ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ (200 ล้านบาท) ถุงมือยาง (160 ล้านบาท) ชุดสายไฟใช้กับรถยนต์ (130 ล้านบาท) เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก (110 ล้านบาท) และกุญแจใช้กับรถยนต์ (100 ล้านบาท) ตามลำดับ
ปัจจุบันสหรัฐฯ ให้สิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดทั้งหมด 127 ประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศ ไทย โดยให้สิทธิ GSP สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ประมาณกว่า 3,400 รายการ ซึ่งในปี 2557 ประเทศไทยมีการใช้สิทธิมาก เป็นอันดับสองรองจากอินเดีย โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.67 ของมูลค่าการใช้สิทธิ GSP ทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่า 18,681 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศที่มีการใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก คือ
ประเทศ มูลค่า (ล้าน US$) ส่วนแบ่งการใช้สิทธิ GSP (%) 1. อินเดีย 4,443.08 23.78 2. ไทย 3,488.47 18.67 3. บราซิล 1,892.63 10.31 4. อินโดนีเซีย 1,681.98 9.00 5. แอฟริกาใต้ 1,356.25 7.26
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ควรเร่งการใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษฯ GSP ที่เป็นแต้มต่อที่ ได้รับอยู่ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มมูลค่าส่งออกไปตลาดที่ให้สิทธิ GSP ให้มากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย