ในการประชุม ABS ครั้งที่ 6 นี้ ภาคเอกชนจะให้ลำดับความเร่งด่วนเรื่องการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยเฉพาะการเจรจา FTA ต่างๆ ซึ่งต้องการให้ลดภาษีนำเข้าของสินค้า และส่วนประกอบ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตของสิ้นค้า และเพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันตลอดvalue chain รวมทั้งผลักดันให้การการเปิดเสรีด้านการค้าบริการและการลงทุน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการจ้างงาน การปรับปรุงด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น ความโปร่งใสด้านกฎระเบียบภายในประเทศ และกระบวนงานต่างๆ จึงมีความสำคัญ ซึ่งสอดคล้อง กับ แนวทางการดำเนินงานของ กกร. ด้าน Ease of Doing Business และให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
หลังการประชุม ABS ครั้งที่ 6 เสร็จสิ้นแล้ว นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะให้เกียรติเข้ารับฟังรายงานผลการประชุม เพื่อรับข้อเสนอของภาคเอกชนเพื่อนำไปผลักดันในเวทีต่างๆ เช่น APEC, East Asia Summit เป็นต้น ซึ่งเป็นการตอกย้ำความสำคัญในบทบาทของภาคเอกชนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย โดยรวม
นอกจากนี้ กกร. จะเข้าร่วมประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น (Mekong-Japan Industryand Government Dialogue : MJ-CI) ครั้งที่ 8 ซึ่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในวันที่ 23 ก.ค.58 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการรับลูกจากการประชุมผู้นำลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 7 ที่กรุงโตเกียว เมื่อเร็วๆนี้ โดยการนำวิสัยทัศน์การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ระหว่างปี 59-61 ตามที่ได้บรรจุอยู่ในยุทธศาสตร์โตเกียว ค.ศ. 2015 ไปสู่การปฏิบัติ
โดยเฉพาะเสาหลักด้านความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ ด้านความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริมด้าน Ease of Doing Business ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม ร่วมกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะทางด้านอาชีวะศึกษา และแรงงานฝีมือ เพื่อสนองตอบความต้องการแรงงานในลุ่มแม่น้ำโขง