โดยงานดังกล่าวรับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงองค์กรสำคัญต่างๆ อีกมากมาย และถือเป็นเวทีอภิปรายสำคัญสำหรับแวดวงอุตสาหกรรมพลังงานและการขนส่งครั้งแรกของไทย
"เราหวังว่าจะมีโอกาสหารือเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานที่ยั่งยืนและกลยุทธ์กับคู่ค้าของเรา ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงความท้าทายในอนาคตในการพิชิตเป้าหมายในปี 2020 และการพัฒนาอาเซียนพาวเวอร์กริดด้วย"นายสุนชัย กล่าว
นายสุนชัย กล่าวว่า นโยบายด้านพลังงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างกันมาก สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างกันในด้านทิศทางทางการเมือง การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละประเทศ
อย่างไรก็ตามแม้จะมีการลงทุนในอาเซียนพาวเวอร์กริด และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติทรานส์อาเซียน แต่ประโยชน์ของการแข่งขันในตลาดที่เพิ่มขึ้น ราคาของผู้บริโภคที่ลดลงและความมั่นคงด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นกลับไม่ได้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม การดำเนินการเพิ่มเติมจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าไฟฟ้าจะยังมีอยู่ โดยที่เศรษฐกิจของภูมิภาคสามารถที่จะเจริญเติบโต ในขณะที่ต้องให้มั่นใจว่าความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะไม่ทำให้พลังงานราคาแพงขึ้น
การประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2559" เหมาะสำหรับผู้เข้าร่วมงานที่จะมาแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ รวมถึงหารือเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติเพื่อการใช้พลังงานที่ยั่งยืนในภูมิภาค
อนึ่ง กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจและผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของไทย สังกัดกระทรวงพลังงาน มีหน้าที่ผลิตและจัดส่งไฟฟ้าไปยังทั่วประเทศ ดำเนินกิจการโรงไฟฟ้ารวม 40 แห่งทั่วประเทศ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 15,010.13 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 3 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 6 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 22 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 8 แห่ง และโรงไฟฟ้าพลังดีเซล 1 แห่ง