พร้อมทั้ง ให้มีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่บริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด รวมถึงบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งจะต้องมีการหารือกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการโอนหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ถืออยู่มายังบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ และประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน
ทั้งนี้ คาดว่าจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่ที่ประชุม ครม.ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.ต่อไป
"การจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติจะไม่ทำให้รัฐเสียประโยชน์แต่เป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อให้การบริหารรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพ และไม่ได้เป็นการแปรรูป หรือขายรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด"นายกุลิศ กล่าว
นอกจากนี้ คนร.มีมติให้รัฐวิสาหกิจปรับลดสิทธิประโยชน์ของกรรมการรัฐวิสาหกิจและปรับลดวงเงินบริจาค ร้อยละ 10 และมีมติให้รัฐวิสาหกิจเร่งเปิดเผยข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน มีความครบถ้วยสมบูรณ์เดียวกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 1 เดือน และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการซ่อมบำรุงและการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้ง เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพในการให้บริการประชาชน
อีกทั้ง คนร.สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยมอบหมายให้ สคร.หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐวิสาหกิจอื่นๆถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุน เพื่อเป็นแหล่งลงทุนทางเลือกในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่อไป
นายกุลิศ กล่าวอีกว่า ที่ประชุม คนร. ยังเห็นชอบให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์จัดตั้งลงทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งพบว่ามีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งมีการจัดตั้งบริษัทในเครือที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นเกินร้อยละ 25 อยู่ 120 แห่ง โดยมีบริษัทที่มีผลกำไร 60 แห่ง และบริษัทที่ผลขาดทุน 60 แห่ง โดยคนร.ได้มอบหมายให้ทุกรัฐวิสาหกิจกลับไปทบทวนสถานะภาพของบริษัทในเครือของตนเองภายใน 3 เดือน และให้รายงานกระทรวงต้นสังกัด ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคนร.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ทุกบริษัทต้องสามารถชี้แจงเหตุผลในการคงบริษัทไว้ หรือหากบริษัทใดประสบปัญหาขาดทุนก็ต้องเสนอแผนฟื้นฟูเข้ามาด้วย หรือหากเห็นว่าหมดความจำเป็นแล้วสามารถยุบเลิก หรือควบรวมกิจการบริษัทในเครืออื่นๆได้ โดยจะเป็นการพิจารณาคลอบคลุมรัฐวิหกิจทั้ง 56 แห่งรวมถึงสถาบันการเงินด้วย
ส่วนการขออนุมัติจัดตั้งบริษัทลูกใหม่ จะต้องนำเสนอต่อกระทรวงต้นสังกัด ก่อนนำเสนอต่อคนร. และครม.พิจารณาต่อไป ส่วนรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หากต้องการตั้งบริษัทในเครือที่ถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 และไม่มีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจให้เป็นอำนาจบอร์ดของรัฐวิสาหกิจเหล่านั้นเป็นคนพิจารณา