เนื่องจาก ในการดำเนินงาน จะต้องพิจารณาการเปิดเดินรถให้พอดีกับการก่อสร้างงานโยธาที่จะแล้วเสร็จในปี 2562 ด้วย โดยให้รฟม. สรุปรายละเอียดรายงานต่อกระทรวงคมนาคมในวันที่ 6 ส.ค.นี้
“ขั้นตอนของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2535 ถือว่าจบแล้วเมื่อบอร์ดสศช.มีมติไม่เห็นด้วยกับการเจรจาตรง แต่หากรฟม.จะใช้ รูปแบบ PPP-Net Cost จะต้องเสนอครม.ขอยกเลิกมติเดิม เท่ากับเปลี่ยนไปใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ซึ่งจะเป็นโครงการแรก โดยตามขั้นตอนพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 จะต้องตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ขึ้นมาพิจารณา และเสนอเรื่องไปที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะเลขาฯ คณะกรรมการ PPP พร้อมกันนี้จะมีการสอบถามความเห็นไปยังสำนักงบ กระทรวงการคลังและสศช.เหมือนเดิม โดยรวบรวมความเห็นกลับมาที่สคร. และส่งกลับมาที่กระทรวงคมนาคมเพื่อให้คณะกรรมการมาตรา 35 ดำเนินงานต่อ และเมื่อได้ดำเนินการคัดเลือกแล้วเสร็จจะต้องเสนอครม.เห็นชอบเพื่อลงนาม ซึ่งเป็ฯขั้นตอนที่แตกต่างจากพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2535 “นางสร้อยทิพย์กล่าว
ด้านนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า ตามหลักการหากสามารถเจรจาตรงกับ BMCL จะใช้เวลาสั้นกว่าการเปิดประกวดราคาใหม่อย่างน้อย 6 เดือน ซึ่ง รฟม.กำลังเร่งทำตารางเวลาเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม แนวทางการเจรจากับ BMCL นั้น และรูปแบบ PPP-Net Cost จะเกิดประโยชน์มากกว่า นอกจากรวดเร็วแล้ว รัฐยังไม่ต้องรับความเสี่ยง ขณะที่เอกชนจะมีความเป็นไปได้ในการลงทุนเพราะเป็นการเดินรถต่อเนื่อง ซึ่งผู้โดยสารจะเกิดความสะดวก และทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นตลอดสาย จะมีโอกาสในการทำรายได้ที่คุ้มทุนมากขึ้น