7.บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด(ศรีสวัวดิ์เงินติดล้อ) 8.บริษัท ไมด้าลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) 9.บริษัท โดเมสติก แคปปิตอล 2015 จำกัด 10.บริษัท อินเทลลิเจนท์ ทีที พาวเวอร์ จำกัด 11.บริษัท ทีเค เงินทันใจ จำกัด และ 12.บริษัท เจ เอ็ม ที พลัส จำกัด
โดยในจำนวนนี้มี 3 บริษัทที่ได้ให้สินเชื่อแล้ว 3 ราย คือ บริษัท เงินสดทันใจ จำกัด, บริษัท ไทยเอซ แคปปิตอล จำกัด และบริษัท เมืองไทยลิสซิ่ง จำกัด ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าแล้วประมาณ 600 ราย คิดเป็นสินเชื่อประมาณ 10.9 ล้านบาท
ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สาเหตุที่ยอดการปล่อยสินเชื่อยังทำได้ไม่มากนัก เนื่องจากยังเป็นช่วงเริ่มต้นที่แต่ละบริษัทจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่มีสาขาเฉพาะในกรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากมีการขยายสาขาไปในต่างจังหวัดมากขึ้นแล้ว ก็เชื่อว่ายอดการปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ก็จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
"ตอนนี้แต่ละบริษัทอยู่ในช่วงเตรียมความพร้อม เตรียมขยายสาขา ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการเปิดสาขากระจุกตัวอยู่แต่ในส่วนกลาง ยังไม่ลงไปในต่างจังหวัด ก็ได้ให้ สสค.ไปประสานกับบริษัทในการเปิดสาขาตามต่างจังหวัด และทำการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้กันให้มากขึ้น" ปลัดกระทรวงการคลังกล่าว