2.การส่งเสริมการลงทุน โดยเร่งรัดโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจริงโดยเร็ว เช่นการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป และการส่งเสริมการลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เช่น การส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, เศรษฐกิจดิจิทัล
3.มาตรการการเงินการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย 6 มาตรการย่อยดังนี้ 1.มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย 2.มาตรการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น 3.มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 4.มาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 5.มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม 6.มาตการอื่นๆ เช่น การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย(นาโนไฟแนนซ์)
4.การกระตุ้นโครงการที่มีอยู่ในงบประมาณประจำปี เช่น งบประมาณรายจ่ายที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจระดับรากหญ้า, โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน
5.การให้ความช่วยเหลือของกองทุนหมุนเวียนและกองทุนหมู่บ้าน โดยปัจจุบันมีการใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียน 114 กองทุน/เงินทุน เบิกจ่ายแล้ว 3.54 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 58.44% ของแผนการใช้จ่ายเงิน ขณะที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 2 แสนล้านบาท สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
6.การปรับปรุงระบบการบริหารสหกรณ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารากฐานการกำกับดูแลสหกรณ์ ระยะที่ 2 การสร้างระบบและเครื่องมือในการกำกับดูแลสหกรณ์ ระยะที่ 3 การเสริมสร้างไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน