โดยการขยายระบบสายส่งไฟฟ้า มีความจำเป็นสืบเนื่องจากระบบสายส่งในปัจจุบันไม่สามารถรองรับการซื้อไฟจากโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนได้เต็มศักยภาพที่มีอยู่ จึงต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างระบบส่ง 500 กิโลโวลต์ เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบสายส่งไฟฟ้าให้เกิดความคล่องตัว และรองรับการเข้ามาของพลังงานทดแทน รวมถึงรองรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid, APG) อีกด้วย
สำหรับแผนงานการขยายและปรับปรุงระบบสายส่ง ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือนสิงหาคม 2557 และกรกฎาคม 2558 แล้ว โดยได้แบ่งการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานออกเป็น 6 สาย ใน 3 ภูมิภาค ซึ่งสามารถรองรับพลังงานทดแทนทั้งประเทศรวมได้ 5,180 เมกะวัตต์ (MW)
สายส่งที่ 1 - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 เริ่มดำเนินการในปี 2559 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2562 ก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ ผ่านพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และชัยภูมิ ระยะทางประมาณ 348 กิโลเมตร สามารถรองรับพลังงานทดแทนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง รวมกันได้เพิ่มอีก 1,600 เมกะวัตต์
สายส่งที่ 2 – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 เริ่มดำเนินการในปี 2563 กำหนดแล้วเสร็จปี 2566 ก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ ผ่านพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา มายังภาคกลางบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 768 กิโลเมตร สามารถรองรับพลังงานทดแทนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง รวมกันได้เพิ่มอีก 2,730 เมกะวัตต์
สายส่งที่ 3 – ภาคกลาง เริ่มดำเนินการในปี 2561 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2564 ก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ ผ่านพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มายังปทุมธานี ระยะทางประมาณ 183 กิโลเมตร สามารถรองรับพลังงานทดแทนในภาคเหนือ และภาคกลาง รวมกันได้เพิ่มอีก 460 เมกะวัตต์
สายส่งที่ 4 – ภาคใต้ 1 เริ่มดำเนินการในปี 2559 กำหนดแล้วเสร็จปี 2560-2562 โดยการขยายขนาดสายส่ง 230 กิโลโวลต์ จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปยังสุราษฏร์ธานี และก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ จากจังหวัดราชบุรี ไปยังประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี และภูเก็ต ระยะทางประมาณ 780 กิโลเมตร สามารถรองรับพลังงานทดแทนในภาคใต้ รวมกันได้เพิ่มอีก 260 เมกะวัตต์
สายส่งที่ 5 – ภาคใต้ 2 เริ่มดำเนินการในปี 2562 กำหนดแล้วเสร็จปี 2565 ก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ ผ่านพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี เพิ่มเติมอีก 2 วงจร ระยะทางประมาณ 313 กิโลเมตร สามารถรองรับพลังงานทดแทนในภาคใต้ รวมกันได้เพิ่มอีก 30 เมกะวัตต์
สายส่งที่ 6 – ภาคใต้ 3 (ตอนล่าง) อยู่ในขั้นตอนรอเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2560 ก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ จำนวน 2 วงจร ผ่านพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ระยะทางประมาณ 333 กิโลเมตร สามารถรองรับพลังงานทดแทนในภาคใต้ รวมกันได้เพิ่มอีก 100 เมกะวัตต์
นายทวารัฐ กล่าวว่า การดำเนินการขยายสายส่งไฟฟ้า จะช่วยให้ประเทศมั่นคงในระบบไฟฟ้ามากขึ้น และสามารถรองรับพลังงานทดแทนในอนาคตของประเทศโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเป็นจำนวนมาก รวมถึงเป็นการช่วยเพิ่มความสามารถการส่งพลังไฟฟ้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ไปยังศูนย์กลางความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความคล่องตัวในด้านปฏิบัติการควบคุมและจ่ายไฟฟ้าอีกด้วย