ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้แสดงถึง Demand Estimation and Forecasting ในประเด็นของ Data Collection, Regression analysis, Subjects of forecasts, Prerequisites of a good forecast, Forecasting techniques, Steps in the Forecasting Process เป็นเครื่องมือเศรษฐศาสตร์ และพยากรณ์ความต้องการสินค้าเกษตรในอนาคต
ในส่วนของ ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวถึง การประยุกต์ใช้แบบจำลองเศรษฐมิติจุลภาค อาศัยแนวคิดการวิเคราะห์แบบเส้นถดถอบเชิงเส้น และแบบระบบสมการ โดยใช้เทคนิคการจำลองค่า และวัดประสิทธิภาพด้วยวิธี U-Theil นองจากนี้ ยังมีการคำนวณแบบจำลองเศรษฐมิติจุลภาคที่ประกอบไปด้วย ด้านอุปทาน (Supply) ด้านอุปสงค์ (Demand Side) และ เงื่อนไขดุลยภาพทางตลาด (Market Clearing) รวมทั้งการนำแบบจำลองเศรษฐมิติไปประยุกต์ใช้ ในกรณีของแบบจำลองข้าว เพื่อการคาดการณ์ความต้องการสินค้าข้าวในอนาคต รวมทั้งปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการผลิต การตลาด และราคา เพื่อประกอบการวางแผนในเชิงนโยบายข้าวต่อไป
ขณะที่ ผศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในคณะกรรมการศูนย์ฯ ได้ถ่ายทอดความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง "การประยุกต์ใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์และพยากรณ์อุปสงค์สินค้าเกษตร" ซึ่งได้ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์อุปสงค์ การประมาณการณ์อุปสงค์และการพยากรณ์อุปสงค์ ในส่วนของการวิเคราะห์อุปสงค์ได้บรรยายถึงความรู้พื้นฐานของทฤษฎีอุปสงค์ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และการประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์อุปสงค์ ในส่วนของการประมาณการอุปสงค์ การบรรยายได้ครอบคลุมวิธีการประมาณการอุปสงค์ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การประมาณค่าอุปสงค์โดยวิธีการวิจัยตลาดและการประมาณค่าอุปสงค์โดยวิธีสมการถดถอย ท้ายสุดในส่วนของการพยากรณ์อุปสงค์การบรรยายได้ครอบคลุมถึงความสำคัญของการพยากรณ์อุปสงค์และประเภทของการพยากรณ์ทั้งหมด 7 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย 1) การพยากรณ์เชิงคุณภาพ 2) การพยากรณ์โดยการวิเคราะห์อนุกรมเวลา 3) การพยากรณ์แบบบาโรเมตริก 4) การพยากรณ์โดยเศรษฐมิติ 5) การพยากรณ์โดยตารางปัจจัย-ผลผลิต 6) การพยากรณ์โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพบางส่วน และ 7) การพยากรณ์โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป