"น่าจะช่วยได้ เป็นการบรรเทาได้ และช่วยเกี่ยวกับความเชื่อมั่น หากรักษาความเชื่อมั่นได้ ก็จะทำให้อุปสงค์ไม่ลดลง การดำเนินการต้องดูภาพปฏิบัติ เพราะตอนนี้ถือว่าทำในข้างของดีมานด์ เมื่อเวลาเศรษฐกิจประสบปัญหาในช่วงสั้น ๆ อาจต้องแก้ไนในด้านดีมานด์และสร้างความเชื่อมั่น แต่ท้ายสุดเราก็ต้องทำด้านซัพพลายประกอบกับไปด้วย"นายประสาร กล่าว
อย่างไรก็ดี มาตรการกองทุนหมู่บ้านแม้จะไม่ใช่การแจกเงินโดยตรง แต่ก้ต้องระวังผลกระทบเรื่องหนี้ครัวเรือน แต่เชื่อว่าหน่วยงานที่เป็นผู้ปล่อยกู้ จะคำนึงถึงความสามารถในการชำระคืนเงินของผู้กู้อยู่แล้ว
"มันไม่ใช่อยู่ดี ๆ จะไปแจกเงิน ซึ่งการที่ผ่านกลไกเหล่านี้ก็ต้องดูว่าผู้ที่จะมาขอกู้นั้นสมควรได้รับเงินกู้หรือไม่ คงไม่ใช่การที่อยู่ดี ๆ ไปตั้งโต๊ะแจกเงิน ต้องอยู่ที่กลไกการพิจารณาของผู้ที่จะปล่อยกู้ด้วย...การใส่เงินไม่มีปัญหา เพราะสภาพคล่องมีเพียงพอ การเข้าไปช่วงผ่านกองทุนหมู่บ้านน่าจะช่วยได้ เพราะเป็นกลไกที่ธนาคารพาณิชย์เข้าไม่ถึง แต่สิ่งที่ต้องระวังคือความสามารถในการชำระคืน"นายประสาร กล่าว
สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยถือว่าเสถียรภาพยังดีในระดับที่มั่นคง เพียงแต่การเติบโตไม่ได้อยู่ในระดับสูงเท่ากับช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น จะต้องปรับความคาดหวังให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ เช่น จีนก็ชะลอตัวลง ตลอดจนความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นปัจจัยต่างประเทศที่ยังต้องติดตามต่อไป เพราะมีกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
"เชื่อว่าจากการดำเนินการมาตราการดังกล่าว หากประสบความสำเร็จ จะช่วยบรรเทาภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ขยายตัวต่ำไปแกว่านี้ หากเม็ดเงินลงไปสู่ผู้มีรายได้น้อย และประชาชนจะเกิดคตวามเชื่อมั่นและบริโภคมากขึ้น ในส่วนนี้จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวลงได้ ส่วนนโยบายนี้จะเป็นประชานิยมหรือไม่ขึ้นกับแนวทางปฏิบัติว่าจะลงไปถึงเป้าหมายได้หรือไม่ กลไกลวิธีการที่จะนำมาพิจารณาการปล่อยกู้ด้วย แต่เชื่อว่าคงไม่ใช่การแจกเงิน"นายประสาร กล่าว
พร้อมกันนั้น นายประสาร ยังระบุว่า ได้หารือกับ รมว.คลัง เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ระบบการชำระเงิน ซึ่งเตรียมนำเข้าที่ประชุม ครม.ในเร็วๆ นี้