ส่วนปัญหาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ให้ ธอท. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้และการหาพันธมิตรร่วมทุน สำหรับ ธพว. ซึ่งมีหนี้ NPL ลดลง ขอให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กรอย่างเคร่งครัด และให้เปิดหน่วยบริการนำร่องในเขตพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดตาก สำหรับ ขสมก. ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาโครงการในเรื่องการจัดหารถโดยสารให้เหมาะสม เช่น การจัดหารถพลังงานไฟฟ้า การปรับปรุงรถเดิมให้มีประสิทธิภาพ สำหรับการปฏิรูปเส้นทางขอให้กำกับให้เป็นไปตามแผน กรณีของ รฟท. รวมถึงเห็นชอบการแก้ไข
นอกจากนี้ คนร. ได้เห็นชอบในหลักการของร่างแผนพัฒนาระบบรัฐวิสาหกิจตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจเสนอ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจทุกแห่งและรวมถึงนโยบายการกำกับดูแลในภาพรวม ซึ่งร่างแผนดังกล่าวเป็นการจัดทำเพื่อรองรับกฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ที่จะประกาศใช้ในอนาคต และกำหนดให้ดำเนินการจัดทำฉบับสมบูรณ์ควบคู่ไปกับการเสนอกฎหมายการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ และให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐ (Multi-Stakeholder Group) สำหรับโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) คณะอนุกรรมการ CoST ได้มีมติให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานนำร่องโครงการ CoST ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลเชิงรุกเพิ่มเติมอันได้แก่ 1) การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) 2) การบริหารจัดการสัญญา (Implementation) และ 3) การสิ้นสุดโครงการ (Project Completion) ทั้งนี้ให้ปรับเปลี่ยนข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ โดยให้คงเปิดเผยเฉพาะโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 –2560) เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความคืบหน้าในการดำเนินการในปัจจุบัน และจัดตั้ง Assurance Team เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผย
นอกจากนี้ คนร.ยังเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ มีอนุกรรมการ 7 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธาน และ ผอ.สคร. เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่ 1) กำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาในการจัดตั้งบรรษัทฯ 2) กำหนดรูปแบบการกำกับดูแลและความเชื่อมโยงระหว่างบรรษัทฯ และรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกำกับ 3) โครงสร้างและอัตรากำลังของบรรษัท 4) กำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ให้กับคณะกรรมการและบุคลากรของบรรษัท 5) กำหนดงบประมาณในการดำเนินงานของบรรษัทฯ และ คนร. ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจฯ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งหารือกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการโอนหุ้นของรัฐวิสาหกิจไปยังบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ และประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจกับสาธารณชน ซึ่ง สคร. ได้ดำเนินการจัดการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ให้แก่สหภาพแรงงานและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งทุกฝ่ายเห็นด้วยในหลักการของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ