สำหรับเมืองมัณฑะเลย์ถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับสองรองจากกรุงย่างกุ้ง สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของจำนวนผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมซึ่งประกอบด้วยท่าเรือ และสนามบินนานาชาติมัณฑะเลย์(Mandalay International Airport) เพื่อติดอาวุธทางองค์ความรู้ก่อนการเข้าร่วมงานฯ โดยได้จัดกิจกรรมติวเข้มในวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้แก่นักธุรกิจ SMEs ผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วมงาน Thailand Week ณ เมืองมัณฑะเลย์ และสมาชิก DITP AEC Club รวมกว่า 170 ราย ผ่านการเสวนา “Key to Success:ไขความลับธุรกิจ พิชิตตลาดเมียนมา" ณ โรงแรมบางกอกชฎา
ส่วนกิจกรรมแรกภายใต้กลยุทธ์ Deepening ASEAN ได้แก่ งาน Thailand Week ณ เมืองมัณฑะเลย์ ได้รับเกียรติจากนายชัยณรงค์ กีรติยุตวงศ์ อัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง และ H.E. Mr. Aung Zan รมต.พาณิชย์ประจำรัฐมัณฑะเลย์ ร่วมเป็นประธานเปิดงานเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ห้างสรรพสินค้า Diamond Plaza, Mandalay ภายใต้ Concept: The New Era of Thai-Myanmar Trade and Investment มีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานจำนวน 114 บริษัท 128 คูหา แบ่งกลุ่มสินค้าเป็น 6 ประเภท ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง ฮาร์ดแวร์ เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนยานยนต์ แฟชั่น (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ) สุขภาพและความงาม ของใช้ภายในบ้าน ของใช้ในครัวเรือน รวมถึงกลุ่มธุรกิจบริการ (สปา โรงแรม ร้านอาหาร) มีผู้เข้าชมงานกว่า 23,000 ราย สินค้าที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกล และกลุ่มธุรกิจบริการ เกิดมูลค่าซื้อขายเกือบ 10 ล้านบาท ถือได้ว่าประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากเป็นกิจกรรมแรกที่เปิดตลาดสินค้าไทยในเมืองใหม่ ซึ่งสินค้าไทยยังไม่เป็นที่คุ้นเคย
"กรมฯ จะจัดงาน Thailand Week และ Mini Thailand Week อย่างต่อเนื่องเพื่อบุกเมืองใหม่ หรือเมืองที่กำลังเติบโตมาก ได้แก่ เมียวดี มะริด และทวายในเมียนมา, ไฮฟอง เกิ่นเทอ และฮานอยในเวียดนาม, เสียมราฐ พระสีหนุ และเกาะกงในกัมพูชา, สุราบายาในอินโดนีเซีย, หลวงพระบาง สะหวันนะเขต และจำปาสักใน สปป.ลาว, เซบู และดาเวาในฟิลิปปินส์ และเซอลังงอร์ในมาเลเซีย" นางมาลี กล่าว
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เมียนมาถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรหนาแน่นกว่า 64 ล้านคน ประกอบกับมีพื้นที่ติดกับจีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาว และไทย หรือเรียกได้ว่าเป็นประเทศที่อยู่ท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชียใต้ ทำให้ได้เปรียบในเรื่องภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการติดต่อทางการค้า การส่งออก และการนำเข้า รวมถึงการส่งสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศต่างๆ นอกจากนี้เศรษฐกิจเมียนมาถือได้ว่ามีความโดดเด่น ดังจะเห็นได้จาก GDP ในปี 2558 ที่มีมูลค่ากว่า 65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8.5 และมีโอกาสจะเติบโตแบบก้าวกระโดดเมื่อผ่านการเลือกตั้งในวันที่ 8 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้