ทั้งนี้ มติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจร (คจร.) เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 58 ได้เห็นชอบในหลักการให้กรุงเทพมหานครรับมอบการดำเนินการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต หลังจากที่ รฟม.ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จากการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคม กทม. และ รฟม. ได้ข้อสรุปจัดทำ MOU และได้จัดทำร่าง MOU เพื่อให้ กทม.สามารถบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ให้การบริหารจัดการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต จำเป็นต้องให้เกิดการเชื่อมต่อกับโครงการที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ กทม. ที่เปิดให้บริการไปแล้ว เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางและเพื่อสร้างกระบวนการทำงานร่วมกัน ระหว่าง รฟม.ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการก่อสร้าง และ กทม.ในฐานะที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้เดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต- สะพานใหม่-คูคต รวมระยะทาง 19 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม. จำนวน 9 สถานี
"ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยประชาชนที่จะได้รับความเดือนร้อนในการเดินทางระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด กทม. ระดมความเห็นเพื่อหาแนวทางแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาการจราจร ซึ่งจะต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม แม้การก่อสร้างกับการบริหารระบบ จะดำเนินการโดยคนละหน่วยงาน แต่ต้องมีการประสานติดตามงานอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมดูแลติดตามการก่อสร้างซึ่งหากเห็นว่ามีสิ่งใดต้องแก้ไขจะต้องประสาน รฟม. ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขในทันที เนื่องจากคุณภาพงานก่อสร้างจะส่งผลกับการเดินระบบในอนาคต"นางเบญจทราย กล่าว