ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) ซึ่งประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละประเทศเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการพัฒนาและเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
การพัฒนาในสาขาพลังงานเป็นอีกสาขาหนึ่งในกรอบความร่วมมือระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงนับว่ามีศักยภาพมากทั้งในด้านพลังงานและเกษตรกรรม ซึ่งสามารถได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม ซึ่งจากความร่วมมือระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ที่ได้มีการดำเนินงานอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ 38 จนกระทั่งปี 43 ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการประชุมครั้งที่ 9 ได้มีการให้คำรับรองอย่างเป็นทางการ สำหรับถ้อยแถลงนโยบายการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มประเทศสมาชิกโดยมีศูนย์ความร่วมมือการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Regional Power Trade Coordination Committee หรือ RPTCC) ประสานการดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าให้สำเร็จลุล่วง โดยในปัจจุบันมีการซื้อขายไฟฟ้าแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง 2 ประเทศ (Bilateral Contract) และใช้ค่าความจุสายส่ง (Capacity) ส่วนที่เหลือของสายส่งขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่ประเทศไทยได้มีการซื้อขายไฟฟ้ากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
"การเสวนานี้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจด้านการซื้อขายไฟฟ้า ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเป็นการรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ผู้ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลด้านพลังงานของประเทศ"นายทวารัฐ กล่าว