นอกจากนี้ อาจจะให้มีการจ้างเกษตรกรในกิจกรรมเช่นการขุดบ่อน้ำหรือ สร้างลานตากผลผลิต ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้ในส่วนนี้
"ยอมรับว่า การที่รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนแบบให้เปล่าแก่เกษตรกรไปเรื่อยๆ คงเป็นไปไม่ได้ ส่วนระยะปานกลางและระยะยาวเน้นเรื่องการจัดโซนนิ่ง จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และต่อยอดไปยังสินค้าอื่นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร โดยยืนยันว่าไม่ได้จัดโซนนิ่งเพื่อให้เกษตรกรเลิกปลูกข้าว แต่เป็นการแนะนำเพื่อให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นๆ เพื่อเป็นสร้างรายได้เพิ่มเติม หรือนำไปสู่การแปรรูปสินค้าในอนาคต"
นอกจากนี้ รัฐบาลแนะนำให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำการเกษตรและรัฐบาลจะสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร หรือให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ตัวสินค้า
นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีการนำเงินที่ได้จากการประมูลคลื่น 4G มาใช้ในการพัฒนาด้านการเกษตร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
ด้านการประมง วันนี้ได้รับคำยืนยันจากกรมประมงว่าจะเดินหน้าแก้ไขปัญหา IUU ต่อไป
"เรื่องของ IUU ก็ไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร แต่เรื่องนี้เป็นหน้าที่ที่กรมประมงต้องทำต่อแน่นอน ที่ผ่านมาเราหละหลวมและมีพ่อค้าที่เห็นแก่ได้ ซึ่งหลังจากนี้ต้องมีการประเมินการทำงานต่อไป"
นายสมคิด กล่าวว่า การปฏิรูปภาคการเกษตรที่ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้เพียง 10 %ของจีดีพี หากสามารถแปรรูปกลายเป็นสินค้าด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือปรับเปลี่ยนเป็นการเกษตรเชิงท่องเที่ยว ก็จะมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้
ส่วนเรื่องสหกรณ์การเกษตร นายสมคิด ระบุว่า หลังจากนี้จะลงไปติดตามการทำงานของสหกรรณ์การเกษตรทั่วประเทศร่วมกับรมว.เกษตรสหกรณ์ โดยจะดูเรื่องของการพัฒนาการและการปรับปรุงการทำงาน โดยยอมรับว่าหากสหกรณ์การเกษตรไหนไม่มีคุณภาพต้องมีการปรับเปลี่ยน
สำหรับเรื่องคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟู นายสมคิด กล่าวว่า เนื่องจากในวันนี้ยังไม่ได้มีการจัดตั้งคณะผู้บริหาร จึงยังไม่มีการลงรายละเอียดเรื่องงบประมาณ แต่มีความตั้งใจว่าจะให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูเป็นเครื่องมือที่จะช่วยรัฐบาลซึ่งได้มอบหมายให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูไปจัดตั้งคณะกรรมการโดยเฉพาะคณะกรรมการจัดการหนี้สินเกษตรกร รวมถึงงบประมาณที่จะต้องใช้ในส่วนนี้ก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
ด้านพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการจัดทำโซนนิ่งว่า ทางกระทรวงฯ จะมีการประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ โดยให้กระทรวงพาณิชย์กำหนดถึงปริมาณความต้องการสินค้าทางการเกษตรของประเทศทั้งหมด เพื่อให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้กำหนดพื้นที่ตรงกับความต้องการต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในอีก 6 เดือนข้างหน้า และมั่นใจว่าในปี 2560 จะเห็นภาพการจัดทำโซนนิ่งที่สมบูรณ์มากขึ้น