รมว.พาณิชย์เผยประมงเมียนมาร์นิยมลงเรือที่ตลาดปลาระนองเหตุระบบโลจิสติกส์ดี

ข่าวเศรษฐกิจ Sunday November 22, 2015 16:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันกลุ่มชาวประมงเมียนมาร์ที่ออกหาปลาในบริเวณเขตชายฝั่งตะนาว
ศรีของทะเลอันดามัน ซึ่งมีชายแดนทางทะเลติดต่อกับจังหวัดระนองของไทย นิยมนำเรือบรรทุกปลาที่จับได้มาขึ้นฝั่งที่ท่าเทียบเรือ
ประมงระนอง เพราะมีระบบสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบสาธารณูปโภค การบริหารจัดการที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ เช่น โรง
แช่เย็น โรงงานแปรรูปอาหารทะเล โรงงานกระป๋อง ถึงแม้จะเดินทางมาไกลและถูกกดราคาแต่ก็ยอม เพราะมีความสะดวกในแทบ
ทุกด้าน และยังเป็นแหล่งรวมโรงงานแปรรูปอาหารทะเลเพื่อส่งออกที่ผู้ซื้อจากทั่วโลก อาทิ สิงคโปร์ มเลเซีย สก็อตแลนด์ เข้ามาซื้อ
อาหารทะเลแบบเหมา รวมถึงเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก
เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดปลาในรัฐตะนาวศรี จะพบว่ายังขาดแคลนระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอีก
มาก ซึ่งทั้งท่าเทียบเรือสะพานปลาภาครัฐและเอกชนในจังหวัดระนอง จะมีเรือประมงชาวเมียนมาร์มากกว่า 1,000 ลำ มาจอด
เทียบท่าเพื่อขายปลาโดยเฉพาะปลาน้ำลึกราคาแพง เช่น ปลาเต๋าเต้ย ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาจาระเม็ด และยังมีปลาอื่นๆเช่น
ปลาทู ปลาหมึก ปลาครืดคาด ปลาเบญจพรรณ์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาคเอกชนของเมียนมาร์ในเกาะสองและรัฐตะนาวศรีก็มีความหวังว่า การพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย จะส่ง
ผลให้เกิดการพัฒนาตลาดปลาและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลในอนาคตได้ แต่ในขณะเดียวกันก็กำลังมองหาตลาดปลาในประเทศที่
อยู่เมืองทางตอนเหนือ เช่น เมาะลำไย ย่างกุ้ง ซึ่งอาจจะช่วยให้ขายปลาได้ในราคาที่สูงขึ้นกว่าตลาดปลาในจังหวัดระนองของไทย
สำหรับการส่งออกสินค้าประมงของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.ย.58) มีมูลค่าส่งออกรวม 1,261 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปมากที่สุดตามลำดับคือ กลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ส่วนปลาต่างๆที่ส่งออกไป เช่น ปลาหมึกสด/แช่
เย็น/แช่แข็ง 222 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื้อปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง 217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง 139 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปลาแห้ง 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลามีชีวิตและพันธุ์ปลา 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ