ขั้นตอนที่ 2 จะมีการจัดตั้งบรัษัทร่วมทุน เพื่อบริหารการเดินรถและจัดหารถไฟเข้ามาวิ่งเพิ่มเติม โดยขั้นตอนนี้คาดว่าจะสามารถจัดตั้งบริษัทให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/59 โดยจะเป็นการร่วมทุนของฝ่ายไทยโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)และฝ่ายญี่ปุ่น และเพื่อให้บริษัทเดินรถดังกล่าวมีความคล่องตัว บริหารงานแบบเอกชน รฟท.และญี่ปุ่นจะถือหุ้นฝ่ายละไม่เกิน 49% ที่เหลืออีก 2% ต้องหาหน่วยงานอื่นหรือบริษัทเอกชนเข้ามาถือหุ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่จะเปิดให้เอกชนไทยเข้ามาร่วมทุน โดยอาจจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตรถไฟฟ้า หรือกลุ่มเอกชนที่มีความร่วมมือกัน
"ต้องหารือกับญี่ปุ่น เรื่องรูปแบบจัดตั้งบริษัท ขอบเขตการทำธุรกิจ คิดว่าจะหารือกันภายใน ธ.ค.นี้ หรือ ม.ค.ปีหน้า ถ้าได้ข้อสรุปรฟท.จะเสนอให้บอร์ดรถไฟน และส่งเรื่องมาที่กระทรวงคมนาคม....คาดว่าจะจัดตั้งบรัทได้ภายในไตรมาส 1 ปีหน้า เส้นทางนี้มึความน่าสนใจมากๆ ทั้งเรือ่งการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารที่มาในรูปการท่องเที่ยว" รมว.คมนาคม กล่าว
นายอาคม กล่าวว่า ขั้นตอนที่ 3 จะดำเนินเป็นโครงการทางคู่ ซึ่งอาจจะไม่ทำตลอดเส้นทาง โดยปัจจุบันเส้นทางฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เป็นทางรถไฟทางคู่ โดยคาดว่าในเดือน เม.ย.-พ.ค. 59 ทางญี่ปุ่นสรุปผลการศึกษารถไฟทางคู่เส้นทางนี้จากนั้นจะสามารถสรุปงบลงทุนทั้งหมด
ทั้งนี้ โครงการพัฒนารถไฟเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว และ ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เป็นเส้นทางสำคัญที่ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมาร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษกาจจนบุรี เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และ การจัดตั้ง Super Cluster ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และที่ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งตามแนวตะวันออก-ตะวันตก(East-West Corridor) ได้แก่ ทางหลวงจากสะพานมิตรภาพด้านแม่สอด-สะพานมิตรภาพฯด้านมุกดาหาร ระยะทาง 777 กม.โดยจะทำเป็น 4 ช่องจราจร, ทางหลวงจากแหลมฉบังไปบ้านพุน้ำร้อน ไม่ใช้มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และ กาญจนบุรี ระยะทาง 343 กม.
สำหรับเส้นทาง Upper East-West Corridor จากแม่สอด-เพชรบูรณ์-บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 910 กม. ส่วนเส้นทาง Lower East-West Corridor จากพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว และฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 กม.