2.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2558/59 ธ.ก.ส.ให้สินเชื่อ แก่สถาบันเกษตรกร ได้แก่ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อการจำหน่าย และเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อ 12,500 ล้านบาท กำหนดวงเงินกู้กับสถาบันเกษตรกรตามศักยภาพคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ขณะนี้ธ.ก.ส.ได้อนุมัติ วงเงินสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรที่เคยเข้าร่วมโครงการดังกล่าวในปีๅการผลิต 2557/58 จำนวน 316 แห่ง วงเงิน 10,800 ล้าน บาท และจ่ายเงินกู้แล้ว 140 ล้านบาท
3.โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/59 ธ.ก.ส.จะจ่ายสินเชื่อชะลอการขายผลผลิตให้ แก่เกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร โดยใช้ข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวเป็นหลักประกัน ดำเนินการในเขตพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วงเงินสินเชื่อ 26,740 ล้านบาท กำหนดวงเงินกู้ให้กับเกษตรกรรายละไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งวง เงินสินเชื่อที่เกษตรกรจะได้รับเป็นไปตามคุณภาพข้าว ดังนี้
สำหรับชนิดข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ (บาทต่อตัน)
หอมมะลิ
ชนิดสีได้ต้นข้าว 36 กรัมขึ้นไป 13,500
ชนิดสีได้ต้นข้าว 31-35 กรัม 13,300
ชนิดสีได้ต้นข้าว 26-30 กรัม 13,100
ชนิดสีได้ต้นข้าว 20-25 กรัม 12,900
ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 20 กรัม ไม่รับเข้าร่วมโครงการ
เปลือกเหนียว
10% เมล็ดยาว 11,300 10% เมล็ดสั้น (คละ) 10,300
ธ.ก.ส.มีเป้าหมายชะลอการขายข้าวเปลือก จำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็นเกษตรกรรายคน 1.5 ล้านตัน ข้าวเปลือก และสหกรณ์การเกษตร จำนวน 0.5 ล้านตันข้าวเปลือก เริ่มโครงการตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2558/59 มียุ้งฉางที่แข็งแรงเป็นของตนเองและสามารถเก็บ ข้าวเปลือกได้ตลอดระยะเวลาของโครงการ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้นานกว่า 30 วัน จะได้รับค่าฝาก เก็บและรักษาคุณภาพข้าวอีกตันละ 1,000 บาท
ทั้งนี้ คุณสมบัติของสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นสหกรณ์ที่รวบรวมผลผลิตข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/59 จากสมาชิกรายละไม่เกิน 300,000 บาท และไม่ซ้ำซ้อนกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ รวมทั้งเป็นสหกรณ์ที่มีโกดังยุ้งฉางที่มั่นคง แข็งแรงสามารถเก็บรักษาข้าวเปลือกได้ตลอดระยะเวลาของโครงการ ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้กำหนดระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ให้เสร็จ ภายใน 4 เดือน นับจากวันรับเงินกู้และต้องไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2559
ด้านหลักประกันเงินกู้ ในส่วนของเกษตรกรจะต้องรับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ และ ข้าวเปลือกของผู้กู้ที่อยู่ในยุ้งฉาง เป็นหลักประกันเงินกู้
ด้านสหกรณ์ ให้รับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันของคณะกรรมการสหกรณ์เกษตรและข้าวเปลือกที่สหกรณ์ผู้ขอกู้รวบรวมเป็น หลักประกัน
นายสุพัฒน์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โดยใช้ข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าว เปลือกเหนียวเป็นหลักประกันส่งผลให้ราคาข้าวในขณะนี้มีเสถียรภาพมากขึ้น จากเดิมที่ราคาข้าวลดลงเฉลี่ยที่ 13,000-14,400 บาท ต่อตันข้าวเปลือก จากราคาตลาดที่ตันละ 11,600 - 12,000 บาท ซึ่งทำให้ชาวนาได้ราคาดีขึ้น และเมื่อเก็บเกิน 30 วัน จะได้ค่า เก็บรักษาอีกตันละ 1000 บาท เป็นราคาที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิต
ทั้งนี้ ในระยะยาว ธ.ก.ส.อยู่ระหว่างวางแผนจะร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าว สมาคมโรงสี และผู้ประกอบการข้าวถุง เข้ามารับซื้อข้าวกับสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ทั่วประเทศ ที่รวบรวมผลิตของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกที่นำข้าวมา เก็บรวบรวมไว้ พร้อมแปรสีข้าวให้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรขายข้าวได้ราคาดีขึ้น และสามารรถรักษาเสถียรภาพราคาข้าวให้ดีขึ้น โดย ธ.ก.ส.จะต้องส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรในการเพาะปลูกข้าวให้มีคุณภาพ ตั้งเป้าหมายให้น้ำหนักข้าวมีน้ำหนัก 36 กรัม ต่อเมล็ด ถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพ และจะทำให้ขายข้าวในราคาดีขึ้น
เบื้องต้น ธ.ก.ส.เตรียมวงเงิน 12,500 ล้านบาท ให้สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.(สกต.ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ) เข้าไปรับซื้อข้าวกับเกษตรกร จำนวน 2.5 ล้านตันเพื่อนำไปขายให้สมาคมต่างๆที่เข้าร่วมกับ ธ.ก.ส.
สำหรับจังหวัดสุรินทร์มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันยุ้งฉาง คาดว่าจะมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมโครงการในฤดู กาลผลิต 2558/59 จำนวน 8 หมื่นราย คิดเป็นจำนวน 1 แสน 5 หมื่น ตัน ซึ่งสูงกว่าในฤดูกาลผลิต ปี 2557/58 ที่มีอยู่ 1 แสน 2 หมื่นตัน เนื่องจากมีการประกาศโครงการเร็วกว่าครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่พอใจกับราคาข้าวที่เก็บไว้ในยุ้งฉาง หาก เทียบกับราคาตลาดที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ภาพรวมโครงการเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/2559 คาดว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ มากกว่า 1 แสนราย ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว
ด้านนายสถาน ใจหนึ่ง รองประธานศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ต.ตาอ่อง อ.เมือง จ.สุรินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของตนมีพื้นที่นา ข้าว 12 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิ ชนิดสีได้ต้นข้าวได้ 41 ตัน ทำให้สามารถได้รับวงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ 13,500 บาทต่อ ตัน
นอกจากนี้ ยังรู้สึกพอใจมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาลและธ.ก.ส.ในหลายๆโครงการ ทั้งการสินเชื่อการ ชะลอขายข้าว โครงบัตรสินเชื่อเกษตรกร การขยายเวลาและพักชำระหนี้สำหรับเกษตรกร การช่วยเหลือดูแลเรื่องการลดต้นทุนการ ผลิต ทำให้เกษตรกรมีรายได้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น จากที่เคยมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยปีละ 6 หมื่นบาทต่อไร่ และกำไรน้อย มีกำไรเพิ่ม ขึ้นปีละแสนกว่าบาท