ทั้งนี้ การปรับสถานะ EU Air Safety List จะมีผลในประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 ธันวาคม 2558
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ไม่มีสายการบินของไทยที่ถูกห้ามบินในสหภาพยุโรป เป็นผลจากการที่ทำงานมาอย่างต่อเนื่องทำให้สายการบินไทย (THAI) ก็ยังคงทำการบินไปยุโรป และ ไทยจะต้องทำงานกับ EASA ต่อไป ในการเข้ามาช่วยแก้ไขอุปสรรคด้านมาตรฐานการบิน เพื่อให้เขาพึงพอใจ ไทยจะต้องเรียนรู้มาตรฐานการบินของสหภาพยุโรปที่มีประเทศสมาชิกจำนวน 28 ชาติ ซึ่งเป็นผลให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ EASA ในการร่วมมือเรื่องมาตรฐานการบินของไทย โดย EASA จะส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ไทยเรียนรู้จาก EASA เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม EASA จะประเมินทุกๆ 6 เดือน
"ทุกหน่วยงาน EASA , FAA เข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทยดี เขามีความมุ่งหวังว่า อยากให้ระเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินเอเชียแปซิฟิค มองไป 10-20 ปีข้างหน้า..ทุกองค์กรได้ให้ข้อเสนอแนะให้กับองค์กรใหม่ของเราคือสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เขาข้อเสนอแนะให้สร้างความเข้มแข็งหมายถึงบุคคลากร" รมว.คมนาคม กล่าว
ทั้งนี้ กพท. มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ (SSC) ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยอยู่ระหว่างแก้ไข SSC 33 ข้อ โดยเฉพาะการแก้ไขกฎระเบียบตามกติกาของ ICAO พร้อมทั้งแก้ไขอุสรรคทั้งจาก EASA และ FAA ได้มีข้อเสนอแนะ ซึ่งพร้อมทำงานกับประเทศไทยได้
นายอาคม กล่าวว่า กระทรวงได้มีแผน 3 ขั้นตอนที่จะสร้างบุคคลากร ได้แก่ การรับผุ้มีประสบการณณืจากต่างประเทศโดยเฉพาะเชี่ยวชาญการตรวจสอบในต่างประเทศ ส่วนข้าราชการที่ทำงานด้านการตรวจสอบพร้อมขอโอนย้ายมาได้ และ รับคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ เพื่อสร้างบุคคลากรในระยะยาว
นอกจากนี้ในระยะ 3 เดือนข้างหน้าทุกสายการบินได้รับการตรวจสอบตามคู่มือมาตรฐานการบินเล่มใหม่ (Recerfiticate) โดยระหว่างนี้อยู่ขั้นตอนประเมินเอกสารสายการบินเพื่อดุว่าสายการบินมีความพร้อม และมีบางสายการบินต้องขอต่อใบอนุญาตซึ่งจะต้องตรวจสอบอย่างเข้มงวด ซึ่งจะดูทั้งมาตรฐานความปลอดภัยการบิน และ สถานภาพของบริษัทไม่ดีว่ามีหนี้สินมากน้อยอย่างไร หรือขายเครื่องบินไปจนเหลือเครื่องบินลำเดียวก็มีโอกาสไม่ได้รับต่อใบอนุญาต ทั้งนี้ คาดว่าจะมีสายการบินที่ไม่สามารถต่อใบอนุญาตอยืทางน้อย 1 สายการบิน
ด้านนายจุฬา สุมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน และ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในระหว่างนี้ จะไม่มีการออกใบอนุญาตใหม่ให้กับสายการบินรายใด แม้ว่าจะมีขอใบอนุญาตการบินใหม่อยุ่ขณะนี้นี้ 2-3 ราย จนกว่าจะแก้ไขปัญหา SSC ของ ICAO ผ่านได้
ส่วนการตรวจสอบสายการบิน 41 สายการบินเพื่อให้ใบอนุญาตใหม่จะต่ออายุให้ 5 ปีภายใต้เงื่อนไข Recerfiticate และ ถ้าเป็นสายการบินที่ 42 จะให้ใบอนูญาตครั้งแรก 2 ปี และครั้งต่อไป 5 ปี