นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า หลังจากปิดยื่นคำขอรับซื้อ ไฟฟ้าฯ เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้ารวมจำนวน 604 ราย โดยมีผู้ถอนคำขอออกไป 14 ราย เพื่อเข้าสู่ขั้นตอน การคัดกรองผู้ยื่นคำขอที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด โดยมีคณะอนุกรรมการที่มาจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจ สอบคุณสมบัติและคัดเลือก ซึ่งได้พิจารณาความครบถ้วนของเอกสาร โดยเฉพาะที่ดินจัดตั้งโครงการต้องอยู่ในเขตพื้นที่ตามประกาศ ข้อมูลศักยภาพของระบบไฟฟ้า รวมทั้งได้พิจารณาตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วย การผังเมือง เป็นต้น และความพร้อมของเงินทุน ซึ่งพบว่ามีผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าที่ผ่านคุณสมบัติเพื่อเข้าสู่การคัดเลือกโดยการจับสลาก รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 219 ราย (หน่วยงานราชการ จำนวน 121 ราย และสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 98 ราย) และคิดเป็น ปริมาณการเสนอขายไฟฟ้ารวมเป็นจำนวน 1,028.67 เมกะวัตต์ และเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ในเฟสแรกจำนวน 600 เมกะ วัตต์ ยังคงสูงกว่าเป้าหมายอยู่
"สำหรับจำนวนผู้ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติ 385 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่มากอยู่นั้น สาเหตุสำคัญที่ส่วนใหญ่ไม่ผ่านคุณสมบัติการคัด เลือก ก็เนื่องจากติดกฎหมายผังเมืองไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้า ถึงแม้จะอยู่ในเขตพื้นที่ตามประกาศข้อมูลศักยภาพของระบบไฟฟ้าก็ ตามที" นายวีระพล กล่าว
โดยผู้ที่ผ่านคุณสมบัติดังกล่าว ประกอบด้วย โครงการในกลุ่มหน่วยงานราชการจำนวน 121 ราย ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า รวมไม่เกิน 605 เมกะวัตต์ และโครงการในกลุ่มหน่วยงานกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 98 โครงการ ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า รวมไม่เกิน 490 เมกะวัตต์ ซึ่งผู้ผ่านคุณสมบั้ติสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ www.erc.or.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของสำนักงาน กกพ.
ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติดังกล่าวต้องนำเอกสารใบตอบรับคำขอมาลงทะเบียนในวันที่ 15 ธ.ค.58 เวลา 08.00-09.30 น.ที่ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว เพื่อเข้าร่วมการจับฉลากเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโซ ลาร์ฟาร์มส่วนราชการฯดังกล่าวต่อไปในวันเดียวกัน
อนึ่ง กกพ.ได้เปิดให้ผู้ที่สนใจยื่นคำขอเสนอขายไฟฟ้าตามโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่วันที่ 1-10 พ.ย.58 ซึ่งผู้ที่ยื่นเข้า ร่วมโครงการต้องมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ต่อโครงการ โดยพบว่ามีผู้มายื่นเสนอรวม 618 ราย และคิดเป็น ปริมาณการเสนอขายไฟฟ้ารวมจำนวน 2,905.50 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น หน่วยงานราชการ 384 โครงการ ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า รวม 1,778.03 เมกะวัตต์ และสหกรณ์ภาคการเกษตร รวม 234 โครงการ ปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 1,127.47 เมกะวัตต์
กกพ.ได้ออกออกประกาศและหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าโครงการโซลาร์ฟาร์มส่วนราชการฯ โดยการรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าว มีปริมาณรวมไม่เกิน 800 เมกะวัตต์ แบ่งการรับซื้อเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจำนวน 600 เมกะวัตต์ มีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้า ระบบเชิงพาณิชย์(SCOD) ไม่เกินวันที่ 30 ก.ย.59 ส่วนระยะที่สอง มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าในช่วงวันที่ 1 ม.ค.-30 มิ.ย.61
เป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าในระยะที่ 1 จำนวน 600 เมกะวัตต์ กกพ.ได้แบ่งเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าใน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) จำนวน 200 เมกะวัตต์ ,พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) จำนวน 389 เมกะ วัตต์ แบ่งเป็น ภาคเหนือ 5 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันออก 87 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันตก 159 เมกะวัตต์ และภาคกลาง 138 เมกะ วัตต์ และพื้นที่ของกิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จำนวน 11 เมกะวัตต์ ซึ่งในส่วนนี้กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกอง ทัพเรือ ก็จะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวเสมือน กฟน.และ กฟภ.
โครงการที่ได้รับการคัดเลือกจะมีอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี และจะได้รับอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in Tariff (FiT) ที่ 5.66 บาท/หน่วย ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)เคยคาดการณ์ว่าแต่ละโครงการจะมีอัตราผลตอบแทนจาก การลงทุน(IRR) ราว 10-12%
"สำนักงาน กกพ.จะประกาศผลการคัดเลือกในเบื้องต้นหลังจากจับสลากทุกโครงการแล้วเสร็จ และประกาศผลการคัด เลือกอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ธันวาคม 2558 ก่อนที่จะสามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ภายในเดือนกันยายน 2559" นายวีระพล กล่าว