โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงกาคลังได้เปิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วยการให้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าตลาด (Soft Loan) อัตราไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี วงเงินสินเชื่อรวม 1 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้วงเงินสินเชื่อดังกล่าวได้หมดลงในระยะเวลาอันสั้น ในขณะที่มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดกลางและเล็ก ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจและต้องการเงินสนับสนุนอย่างแท้จริงอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาสินเชื่อ ซึ่ง
สำหรับหลักเกณฑ์การกู้ผู้กู้จะต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่สถาบันการเงินกำหนดส่วนวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1 ล้านบาท ทาง บสย. ค้ำประกัน ส่วนวงเงินมากกว่า 1 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องผ่านการคัดกรองจากหน่วยงานพันธมิตรที่ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับธนาคาร โดยมี บสย.ค้ำประกัน และวงเงินสินเชื่อที่มากกว่า 5 ล้านบาท ให้ใช้หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธนาคาร ระยะเวลาการกู้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 6 เดือน “การจัดหาสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ผ่านช่องทางของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยครั้งนี้ เป็นสิทธิพิเศษที่จะมอบให้เฉพาะกับองค์กรหรือธุรกิจที่เป็นเครือข่ายสมาชิกของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันสมาพันธ์ฯ ยังคงเปิดรับสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นสมาชิกแต่อย่างใด
ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจในการรวมตัวคนตัวเล็กในวงการเอสเอ็มอีไทย เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ผลักดันให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็กทั่วประเทศ มีโอกาสเข้าถึงสิทธิพิเศษ และสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับที่เท่าเทียมกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมถึงเป็นการรวมพลังกันเพื่อยกระดับและพัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืนในลำดับต่อไป" ดร.ณพพงศ์ กล่าว
ปัจจุบันสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย มีสมาชิกเครือข่ายองค์กรต่างๆ กว่า 100 องค์กรและมีผู้ประกอบการธุรกิจ SMEsจากทั่วประเทศ ทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเตรียมแผนที่จะคัดนักธุรกิจคนรุ่นใหม่เข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ และเร่งสร้างเครือข่ายนักธุรกิจมืออาชีพหลากหลายสาขาที่รวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์ธุรกิจ โดยตั้งเป้าหมายสร้าง 10,000 Start Up และมุ่งผลักดันเศรษฐกิจฐานรากของประเทศผ่านแนวคิด “รวมพลังคนตัวเล็ก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย"