สำหรับการดำเนินการต่อจากนี้ ผู้เสนอซื้อจะต้องทำสัญญาซื้อขายข้าวกับองค์การคลังสินค้า (อคส.) หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) ภายใน 15 วันทำการ พร้อมทั้งยื่นแผนการขนย้ายข้าวและแผนการนำข้าวไปใช้ในอุตสาหกรรมตามที่ผู้ซื้อได้รับรองวัตถุประสงค์ในการนำข้าวไปใช้ตามที่ได้แจ้งไว้ และเพื่อเป็นการป้องกันการรั่วไหลข้าวเข้าสู่ระบบการค้าปกติและผลกระทบต่อชื่อเสียงของข้าวไทย ซึ่ง นบข.ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดมาตรการในการกำกับดูแลโดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. ให้อคส. และ อ.ต.ก.กำหนดเงื่อนไขและบทลงโทษในสัญญาซื้อขายข้าวสารในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรม
2. ให้กองกำลังรักษาความสงบในพื้นที่จังหวัดของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงานสุ่มตรวจการส่ง-มอบข้าวตามแผนการขนย้ายข้าวสาร โดย อคส.เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
3.แต่งตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัด เพื่อสุ่มตรวจสอบบัญชีคุมสินค้าแสดงปริมาณการได้มา ปริมาณการใช้รายวันนับแต่วันที่ได้รับข้าวสารเก็บไว้ ณ สถานที่เก็บ
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าว นบข.มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมและกำกับดูแลไม่ให้ข้าวเล็ดลอดเข้าสู่วงจรค้าข้าวเพื่อการบริโภค ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตลาดและผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
ขณะที่คาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกนาปี 58/59 จะอยู่ที่ 22.98 ล้านตัน เป็นข้าวเปลือกหอมมะลิ 6 ล้านตัน ข้าวเปลือกเหนียว 6.74 ล้านตัน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดเก็บเกี่ยวแล้ว ที่เหลือเป็นข้าวเปลือกเจ้า 10.24 ล้านตัน คาดว่าเดือนธ.ค.58 และ ก.พ.59 จะมีผลผลิตออกมา 4.5 ล้านตัน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง
ในส่วนของแผนการพยุงราคาข้าว จะมีการเสนอ นบข.ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ 2 เรื่อง คือ 1.ให้ขยายเวลาการเก็บสต็อกข้าวของโรงสีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับซื้อข้าวจากชาวนาเก็บไว้ในสต็อก โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% ตั้งเป้ารับซื้อข้าว 2.5 ล้านตัน
2.จะเสนอแนวทางลดปัจจัยการผลิต ลดราคาปุ๋ยลงอีกกระสอบ 10-30 บาท จากที่เคยลดราคาลงแล้วกระสอบละ 40-50 บาทเมื่อเดือนเมษายน 2558 โดยครั้งนี้จะลดราคาจนถึง 30 พ.ค.59, ลดราคายาปราบศัตรูพืช, รถเกี่ยวข้าว, ค่าเช่าที่นา
นอกจากนี้ ทางสมาคมผู้ส่งออกข้าวจะรับซื้อข้าวอีก 1 แสนตัน หลังจากเคยซื้อไปแล้วในช่วงที่ผ่านมาในราคา 13,500 บาท/ตัน สำหรับข้าวเปลือก และ 26,000 บาท/ตัน