"อินเดียถือเป็นประเทศที่ผลิตกุ้งมากที่สุด แต่ขณะนี้อินเดียกำลังเผชิญโรคไมโครสปอริเดีย และยังไม่รู้วิธีป้องกันคาดว่าผลผลิตจะลดลงมาก ขณะที่ไทยสามารถป้องกันและแก้ปัญหานี้ได้ สามารถเพาะเลี้ยงกุ้งที่ไม่ติดเชื้อนี้เนื่องจากเพาะเลี้ยงด้วยระบบน้ำโปร่ง"
ขณะที่เวียดนาม เกิดโรค EMS ตั้งแต่ปี 53 จนถึงปัจจุบันยังมีสถานการณ์ของโรคอยู่ ราคากุ้งก็ตกต่ำลงจนไม่จูงใจให้เกษตรกรลงลูกกุ้ง ล่าสุดยังมาเจอปัญหาโรคไมโครสปอริเดียเช่นเดียวกับอินเดีย ส่วนจีนประสบปัญหาโรค EMS ตั้งแต่ปี 52 พอปี 53 โรคนี้ระบาดไปทั่วเมืองจีน ผู้เลี้ยงเร่งใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อตั้งแต่โรงเพาะฟักจนถึงการจับ ผลผลิตที่ได้ก็บริโภคเฉพาะภายในประเทศ ปัจจุบันก็ส่งออกไม่ได้เนื่องจากเพิ่งถูก EU สั่งเผาทำลายหลังพบยาตกค้าง
การที่ผลผลิตกุ้งของโลกจะลดลงนี้ ทำให้ราคากุ้งของโลกน่าจะสูงขึ้น นอกจากนี้ ผู้นำเข้าจะหันกลับมาซื้อกุ้งจากประเทศไทย เพราะยอมรับ-เชื่อมั่นในความสม่ำเสมอของคุณภาพกุ้งไทย หลังจากที่หายไปเนื่องจากไทยมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นเรื่องปริมาณ และความสม่ำเสมอของวัตถุดิบในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังคือ ประเด็นแรงงาน/แรงงานทาส ที่จะถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญ กดดันประเทศไทยต่อไป จากประเทศสหรัฐ และอียู" ทพ.สุรพล กล่าว
ตลอด 3 ปีที่อุตสาหกรรมกุ้งไทยเผชิญ ปัญหาโรค EMS แต่ภาคผ้เลี้ยงไม่เคยถอดใจ และพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่จนปัจจุบันเราสามารถแก้ปัญหาการผลิตได้อย่างมั่นใจ และปี 59 จะเป็นโอกาสพลิกฟื้น ของอุตสาหกรรมกุ้งไทย เพราะจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ปริมาณ และคุณภาพ จากปัจจัยหลักทั้งเรื่องคุณภาพลูกกุ้ง และการปรับวิธีการเลี้ยง ในขณะที่ประเทศค่แข่งจะผลิตได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ห้องเย็น และผู้เลี้ยง จะต้องมีการประสานข้อมูลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาราคาตกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกัน
"ปี 59 จะเป็นปีที่การเลี้ยง/อุตสาหกรรมกุ้งไทยฟื้นตัว ผลผลิตกุ้งไทยจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตกุ้งโลกมีแนวโน้มลดลง เช่น อินเดีย ที่ถือเป็นประเทศที่ผลิตกุ้งได้มากที่สุด 380,000 ตันในปี 58 ปีหน้าคาดว่าจะผลิตกุ้งลดลงมาก เนื่องจากประสบปัญหาโรคไมโครสปอริเดีย ที่อินเดียยังไม่รู้วิธีป้องกันจัดการฯ ขณะที่ประเทศไทยมีบริษัทที่มีความมั่นใจ ที่จะสามารถป้องกัน-แก้ไขปัญหานี้ได้ โดยสามารถเพาะลูกกุ้งที่ไม่ติดเชื้อนี้"
ด้านนายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า สถานการณ์กุ้งของไทยในปี 58 มีผลผลิตกุ้งโดยรวมประมาณ 260,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 13% ถือเป็นสัญญาณที่ดี ชี้ให้เห็นว่าเราสามารถรับมือ-แก้ปัญหาโรคตายด่วน(EMS) ได้ดีขึ้น และปีหน้าผลผลิตกุ้งจะดีขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่ผลผลิตกุ้งโลกมีแนวโน้มลดลง ดังนั้นในปี 59 จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมกุ้งไทย แต่ภาครัฐต้องเร่งแก้ปัญหาการกีดกันการค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องแรงงาน/แรงงานทาสเพราะจะเป็นประเด็นที่ถูกกดดันจากประเทศคู่
ปี 58 อินเดียผลิตกุ้งได้ 380,000 ตัน ลดลง 10% จาก 400,000 ตันในปี 57, จีน ผลิตได้ 350,000 ตัน ลดลง 13% จาก 400,000 ตันในปี 57 และ เวียดนาม ผลิตได้ 210,000 ตัน ลดลง 30% จาก 300,000 ตันในปี 57 ขณะที่ไทย ผลิตกุ้งไทยได้ประมาณ 260,000 ตัน เพิ่มขึ้น 13% จากปี 57 ที่ผลิตได้ 230,000 ตัน และปี 59 ไทยคาดว่าจะผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นจากปี 58 ราว 10-20%
ขณะที่การส่งออก เดือนม.ค.-ต.ค.58 ไทยส่งออกกุ้ง 127,871 ตัน ลดลงจากปีก่อน 1.21% มูลค่า 44,256 ล้านบาท ลดลง 14.43% จากปี 57 ส่วนปี 59 ไทยจะส่งออกกุ้งได้ราว 160,000-180,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท ผลจากปัจจัยบวกเรื่องผลผลิตเรามากขึ้น ขณะที่คู่แข่งเผชิญโรคระบาดทำให้ผลผลิตลดลง และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าขึ้นมามาก
"ปีที่แล้วปริมาณส่งออกลดลงแค่ 1% กว่าๆ แต่มูลค่าส่งออกลดลงมากถึง 14% ปัจจัยสำคัญคือราคาในตลาดโลกตกต่ำและค่าเงินบาทแข็งค่ามาที่ 32 บาท/ดอลลาร์ แต่ตอนนี้เงินบาทอ่อนค่ากลับมาแถวๆ 36 บาท/ดอลลาร์ น่าจะทำให้การส่งออกดีขึ้น"
ด้านนายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวว่า การเลี้ยงกุ้งในภาคตะวันออกปีนี้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 10% มีการชะลอตัวบ้างในช่วงปลายปีเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว อย่างไรก็ตามลูกกุ้งในปี 58 มีคุณภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งมีความมั่นใจลงกุ้งมากขึ้น และปีหน้าผลผลิตเพิ่มขึ้นเพราะเกษตรกรเตรียมลงกุ้งเลี้ยงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และจะมีการเพิ่มการจัดการการเลี้ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะที่นายสมชาย ฤกษ์โภคี ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งประสบปัญหาโรค EMS มาเป็นเวลา 3 ปีเต็ม ได้มีการปรับปรุงและหาวิธีการเลี้ยง โดยปรับโครงสร้างฟาร์มและวิธีการจัดการ จนได้วิธีการเลี้ยงที่สามารถเลี้ยงได้ประสบผลสำเร็จ ทำให้มีผลผลิตถึงเดือนพฤศจิกายนประมาณ 80,700 ตัน คิดเป็นประมาณ 38% ของประเทศ และด้วยแนวทางการเลี้ยงรูปแบบใหม่นี้ จะทำให้ผลผลิตกุ้งในปี 59 เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
ส่วนนายชัยพร เอ้งฉ้วน กรรมการบริหารสมาคมฯ กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ในฝั่งอันดามันว่า ปัญหา EMS ในภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีแนวโน้มดีขึ้น จาก 2 ปัจจัยคือ สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และเกษตรกรมีการปรับปรุงวิธีการเลี้ยง ทำให้ผลผลิตกุ้งภาคใต้ฝั่งอันดามันเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 15% โดยมีการผลิตทั้งกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ สำหรับพื้นที่อันดามันถือเป็นแหล่งผลิตกุ้งกุลาดำที่มีศักยภาพ แต่เนื่องจากตลาดหลักของกุ้งกุลาดำคือการส่งกุ้งมีชีวิตไปจีน ทำให้บางพื้นที่มีศักยภาพแต่ไม่สามารถเลี้ยงได้ เนื่องจากไม่สามารถส่งออกได้