ทั้งนี้ จีนถือเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย มีเส้นทางขนส่งทางเรือจากเซี่ยงไฮ้-แหลมฉบัง ส่วนทางถนนผ่านทาง เส้นทางหมายเลข 3 หรือผ่านลาว ทางหมายเลข 9 หมายเลข 8 ส่วนทางรถๆฟจะเป็นการพัฒนาเพื่อขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมาก และต้นทุนต่ำกว่าทางถนน และเมื่องตลอดเส้นทางจะมีการพัฒนามากขึ้น ที่ผ่านมา มีการศึกษาร่วมกันระหว่างไทย จีน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน และเทคนิค จึงต้องใช้เวลามาก ส่วนเงินกู้ที่จีนจะให้ 2.5% นั้นทางกระทรวงการคลังจะพิจารณาเปรียบเทียบกับแหล่งอื่น เพื่อเลือกที่ดีที่สุด
ด้านนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนารถไฟขนาดรางมาตรฐาน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยการเชื่อมโยงโครงข่ายด้านการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งการพัฒนาการส่งเสริมการลงทุนและท่องเที่ยว ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมร่วมกันแล้ว จำนวน 9 ครั้ง เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 58 และได้ลงนามกรอบการทำงานร่วมกัน (Framework Of Cooperation : FOC) โดยจะก่อสร้างเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 845.27 กิโลเมตรและเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 118.14 กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล และในวันที่ 19 ธันวาคม 2558 กระทรวงคมนาคมจะจัดพิธีเริ่มต้นโครงการที่เชียงรากน้อย"
อย่างไรก็ตาม จะมีการจัดสัมมนาเพื่อสร้างรู้ความเข้าใจและประโยชน์ ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการฯ พัฒนารถไฟไทย – จีน ในเดือนมกราคม – เมษายน 2559 รวม 5 ครั้ง ได้แก่ จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และระยอง