ในส่วนผลกระทบโดยเฉพาะเรื่องการเคลื่อนย้ายเงินทุนกับไทยนั้น อาจยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่ยอมรับว่าการปรับชึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในขณะที่ธนาคารกลางหลายประเทศสำคัญยังส่งสัญญาณกรอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ และคงใช้มาตรการการเงินแบบผ่อนคลาย จะมีผลในแง่ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยของตลาดพันธบัตร ซึ่งในส่วนนี้จะกระทบกับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
"ขณะนี้ธนาคารกลางหลายประเทศมีการส่งสัญญาณในการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบ ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น จีน ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษเอง ก็ส่งสัญญาณออกมาแล้วว่าจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยจากสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นในตลาดการเงินทั่วโลกนี้ อาจจะเกิดผลกระทบในแง่อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินสกุลหลักจะมีความผันผวนมากขึ้น ดังนั้นภาคธุรกิจความมีการบริหารความเสี่ยงและปิดความเสี่ยงด้วย"นายวิรไท กล่าว
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ผลการประชุมเฟดเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักลงทุนส่วนใหญ่และของ ธปท. ขณะที่เนื้อหาใน Statement ของเฟดสะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยให้น้ำหนักกับพัฒนาการของเงินเฟ้อในระยะต่อไป ทำให้ตลาดคลายกังวล เพราะมองแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
ดังนั้น ในช่วงข้ามคืนที่ผ่านมาจนถึงเช้านี้ค่าเงินสหรัฐฯ จึงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากช่วงก่อนหน้า สกุลภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับอ่อนค่าลงบ้างตอบรับข่าวการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในจังหวะสั้นๆ แล้วอ่อนค่าสอดคล้องกับเงินภูมิภาคเมื่อตลาดเอเชีย เคลื่อนไหวระหว่าง 36.08-36.12 บาท/ดอลลาร์ในช่วงสาย จากวันก่อนที่เคลื่อนไหวระหว่าง 35.93-36.08 บาท/ดอลลาร์
ด้านตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวเป็นบวกตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น
"การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งสองทิศทางผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศจึงควรระมัดระวัง และให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้านเงินตราต่างประเทศ" นางจันทวรรณ กล่าว