ทั้งนี้ หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2558 จำนวน 5,867,372.68 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,514,659.31 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.99 และหนี้ต่างประเทศ 352,713.37 ล้านบาท (ประมาณ 10,106.44 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 6.01 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหากเปรียบเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 158,293.93 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 30 ตุลาคม 2558) หนี้ต่างประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.38 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ
โดยหนี้สาธารณะดังกล่าว แบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,628,574.27 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.93 และมีหนี้ระยะสั้น 238,798.41 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.07 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
การเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะมีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ของรัฐบาล มีหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 98,510.08 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
1.การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 99,094.26 ล้านบาท
2.การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 8,622.79 ล้านบาท โดยมีรายการที่สำคัญ ดังนี้
- การกู้เงินเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ จำนวน 2,072.02 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 1,682.66 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน และการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 389.36 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง
- การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 6,353 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จำนวน 353 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน:มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 จำนวน 6,000 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ จำนวน 140 ล้านบาท
3.การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 9,868.06 ล้านบาท แบ่งเป็น การชำระหนี้ต้นเงินกู้ที่รัฐบาลให้กู้ต่อ จำนวน 7,304.78 ล้านบาท, การชำระหนี้ต้นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน 516.67 ล้านบาท, การชำระหนี้ต่างประเทศ จำนวน 327.78 ล้านบาท, การชำระดอกเบี้ย จำนวน 1,718.83 ล้านบาท แบ่งเป็น ดอกเบี้ยหนี้ในประเทศ 1,606.54 ล้านบาท และดอกเบี้ยหนี้ต่างประเทศ 112.29 ล้านบาท
4.การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อชำระดอกเบี้ย จำนวน 2,336.38 ล้านบาท และผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 1,057.74 ล้านบาท
สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน มีหนี้คงค้างลดลง 10,311.50 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงเกิดจาก
1.ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 6,249.83 ล้านบาท
2.การชำระหนี้เงินกู้มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ ทำให้หนี้ลดลง 4,061.67 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ จำนวน 7,100.53 ล้านบาท และการออกหุ้นกู้ จำนวน 4,200 ล้านบาท ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการเช่าซื้อเครื่องบินแอร์บัส A320-200 ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,179.40 ล้านบาท
ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีหนี้คงค้างลดลง 4,095.23 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่กู้มาเพื่อดำเนินโครงการ รับจำนำผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้เงินจากการระบายสินค้าเกษตร จำนวน 4,082.80 ล้านบาท และผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 12.43 ล้านบาท
หน่วยงานของรัฐ มีหนี้คงค้างลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 53.86 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของสำนักงานธนานุเคราะห์ จำนวน 58.05 ล้านบาท
ในเดือนตุลาคม 2558 สบน. มีการบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 13,467.50 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2,300 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 11,167.50 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ในการนี้ สบน.ได้ปรับตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 จากร้อยละ 42.99 ตามที่ได้แถลงข่าวไปในเดือนพฤศจิกายน เป็นร้อยละ 43.26 เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 ทำให้ GDP จริงของปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เท่ากับ 13,368.45 พันล้านบาท